วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

พระพุทธศาสนากับการเมือง (สมควรที่จะบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่


โดยพระธัญณัฏฐ์ชัย ชยฺยธมฺโม


พระพุทธศาสนา กับ การเมือง
เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยในปัจจุบัน มีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เมื่อถามถึงเรื่องศาสนาประจำชาติแล้ว หลายคนไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างชาติก็ตาม จะกล่าวในลักษณะที่ตรงกันว่า เมื่องไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ที่น่าจะเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า หลักฐานต่างทั้งทางด้าน สถาปัตยกรรมก็ดี หรือศิลปะการก่อสร้างต่าง ๆ ณ สถานที่สำคัญ ๆ ล้วนบ่งบอกได้ว่า นี้เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ก็ล้วนบ่งบอกความเป็นพุทธศาสนาอีกด้วย
แต่ก็อาจจะมีคำถามค้างคาอยู่ภายในจิตใจและตามมาอีกหลายฝ่าย ว่าทำไม?พระพุทธศาสนานี้ถึงมิได้เป็นศาสนาประจำชาติในลักษณะเชิงที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเสียที นั่นหมายถึง การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า
“พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย”
เรื่องนี้สำคัญเพียงแค่ไหน? ที่จะต้องบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นประจำชาติ หรือไม่ควรที่จะบัญญัติเอาไว้เพราะเหตุที่พระพุทธศาสนานี้อยู่คู่คนไทยมานาน...แสน...นาน.... พระพุทธศาสนาอยู่ในจิตใจของคนไทยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบัญญัติหรือตรากฎหมายอะไรต่าง ๆ ไว้ก็ได้ เพราะ พระศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ สังคมการเมือง หรือกฎหมายใด ๆ ถึงแม้ไม่มีกฎหมาย พระพุทธศาสนาก็อยู่ได้ เพราะทุก ๆ วันนี้ ศาสนาอยู่ได้ก็เพราะประชาชน นั่นก็คือ ประชาชน ชาวบ้าน เป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมาเท่าทุกวันนี้ มิใช่ภาครัฐบาลที่จะมาช่วยเหลือหรืออุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาก็อยู่ได้และเจริญรุ่งเรืองเสียอีกและคำถามจึงตามมาว่า…
1.ทำไมจึงต้องบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ?
2.มันมีความจำเป็นมากขนาดนั้นเชียวหรือ?
3.และบัญญัติไปแล้วจะได้อะไร?
4.จะทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองหรือ?ไม่ศีลธรรมคนไทยจะดีขึ้นไหม?
5.หรือจะทำให้พระภิกษุหรือคฤหัสถ์พ้นจากความทุกข์ใหม?
คำถามเหล่านี้มักจะตามมาเสมอเกี่ยวกับเรื่องที่พระภิกษุและชาวพุทธพยายามที่จะเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ…
หลายฝ่ายอ้างเหตุผลที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าสอนเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา สอนไม่ให้คนเรายึดมั่นถือมัน ในตัวตน สอนเรื่องอนัตตา ไม่ให้ถือตัวกูของกู ดังนั้นมันจึงไมใช่เรื่องจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ
และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างแรงกล้า ก็จะพยายามหาเหตุผลมาอ้างในลักษณะที่ว่า คนที่พยายามเรียกร้องนั้น มีผลประโยชน์หรือต้องการผลประโยชน์จากการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
ถ้าเรามองดูเหตุการณ์อะไร ๆสักอย่าง อย่างบุคคลที่เป็นชาวพุทธที่แท้จริงแล้ว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองดูเหตุการณ์ที่เป็นลักษณะอุเบกขา หรือการวางเฉย
ความหมายของคำว่าอุเบกขา
ถ้าจะมองดูหลักธรรมในพรหมวิหาร 4 ที่กล่าวถึงเรื่อง ธรรมมะสำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองนั้น จำเป็นต้องประกอบด้วย
1.เมตตา คือ ความรักปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
2.กรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ โดยการช่วยเหลือ
3.มุทิตา คือ การแสดงความยินดีเมื่อบุคคลอื่นประสบความสำเร็จ
4.อุเบกขา คือการวางเฉยเมื่อไม่สามารถช่วยหรือทำอะไรได้
วิเคราะห์คำว่าอุเบกขา
ถ้าวิเคราะห์ดูคำว่าอุเบกขาแล้ว ถ้ามองดูแบบผิวเผินจะเห็นได้ว่าอุเบกขาคือการวางเฉย หรืออาจะหมายถึง ไม่สนใจที่จะรับรู้ หรือเฉยเมยในทำนองนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่าอุเบกขานั้น คือการวางเฉยแบบนิ่งๆ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวโดยใช้ปัญญา เปรียบเสมือนน้ำในแก้ว เมตตา กรุณา มุทิตา นั้น อาจจะเหมือนน้ำที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ แต่เมื่อน้ำนิ่งเมื่อไหร่ ตะกอนก็เริ่มนอนก้น นั่นก็คือ น้ำในแก้วเริ่มใส มองอะไรก็สามารถเห็นทะลุปรุโปร่ง เปรียบดังปัญญาของมนุษย์นั่นเองที่ เคลื่อนไหวคิดอยู่ตลอดเวลาอาจหาคำตอบไม่เจอ เมื่อนิ่งสงบพิจารณาอย่างใคร่ครวญแล้วอาจพบทางออกก็เป็นได้
อุเบกขาจึงเป็นเครื่องมือแห่งปัญญาของมนุษย์การรับฟังความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางใจเป็นอุเบกขาและใช้ปัญญาพิจารณาตามเหตุและผลนั้น ๆ

เราจะเห็นได้ว่า การที่เราพูดถึงรัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และกล่าวว่าสมควรที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ? ตรงจุดนี้ ถ้ามองดูอย่างเป็นกลาง ๆ โดยใช้หลักของอุเบกขาแล้ว เราจะเห็นได้ว่า การพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้อาจคิดได้หลายแง่มุม นั่นก็คือ

· ผลกระทบเมื่อบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
· ผลกระทบของรัฐธรรมนูญที่จะมีผลต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต
· ผลดีต่อพระพุทธศาสนาในอนาคตถ้าหากบัญญัติ

§ จะเห็นได้ในโลกปัจจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างได้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก บางอย่างก็คงสภาพรูปแบบเดิมไว้บ้าง แต่บางอย่างเกิดขึ้นมาใหม่ทับถมกลบร่องรอยรูปแบบเก่า ๆ ไว้จนหมดสิ้นแทบไม่หลงเหลือร่องรอยใด ๆให้ปรากฎเลย ในการดำเนินชีวิตของเรานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกี่ยวข้องกับคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องประสบก็คือ กฎเกณฑ์ของสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นกฏระเบียบในที่ทำงาน กฎหมายต่าง ๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ทั้งกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา บางอย่างก็คงเหมือนกับในอดีต อย่างเช่น การฆ่าคนตาย เมื่อจับผู้กระทำความผิดได้ ถ้าเจตนาด้วยย่อมได้รับโทษหนัก เช่นประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตเป็นต้น แต่โทษบางอย่างเป็นความผิดที่เกิดขึ้นมาเฉพาะเพียงแค่ในสังคมปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น การลักไฟฟ้า การละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ในอดีตไม่มีโทษในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้น
จึงพอที่จะกล่าวสรุปได้ว่า เมื่อเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคม จึงจำเป็นต้องเรียนรู้กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ในสังคมต่างๆ หรือแม้กระทั่งกฎหมาย เพราะสิ่งเหล่านี้เองมีความสำคัญและจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอยู่ไม่น้อย

พระพุทธศาสนากับกฎหมาย
พระพุทธศาสนานั้น มีศีล วินัย ดูคล้ายกับจะเหมือนกฎหมายบ้านเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วศีลนั้นเป็นกฎระเบียบข้อบังคับให้ภิกษุ และ อุบาสก อุบาสิกา ประพฤติปฏิบัติตาม แต่ศีล หรือวินัยนั้น มิได้เหมือนหรือเป็นไปในลักษณะเดียวกับกฎหมาย ที่หากผู้ละเมิดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษทัณ ส่วน ศีล หรือพระวินัยนั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเพื่อให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อนำตนและสังคมไปสู่ความเจริญ ไปสู่ความสุข ผลหรือโทษนั้นมันมีอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าผู้นั้นละเมิดก็จะได้รับผล คือวิบากกรรมที่จะต้องชดใช้ในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นกฎหรือข้อที่ควรประพฤติงดเว้น และปฏิบัติ เป็นไปเพื่อความเจริญ
เมื่อมนุษย์จำเป็นต้องอยุ่ร่วมกับคนในสังคมจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตของเราอยู่ตลอดเวลา
มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายก็เพราะว่า
1. สังคมของมนุษย์มีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องมีกฎออกมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
2. กฎหมายสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่มนุษย์
3. กฎหมายสร้างระเบียบให้แก่สังคม
4. กฎหมายมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์เพราะเหตุที่มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น กฎหมายจึงเป็นตัวกลางที่คอยกำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลในระดับต่าง

พุทธศาสนาเป็นเรื่องเฉพาะแค่เพียงจิตใจเท่านั้น



จะเห็นได้ว่ามีชาวพุทธได้ออกมาเรียกร้องให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา มีคนออกมาคัดค้านว่าไม่เหมาะเพราะว่า พุทธศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง แต่ผู้เขียนเห็นว่า ความคิดเหล่านั้นเป็นความคิดที่ค่อนข้างที่จะใกล้เคียงหรือเกือบที่จะถูกต้องแต่ไม่น่าที่จะถูกต้อง เพราะเหตุที่ว่า พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านจิตใจและเป็นผู้ที่มีบทบาทในการรักษาพระศาสนาเอาไว้มากที่สุดนั้น ซึ่งในทุก ๆ วันนี้ มิได้มีแค่พระธรรมวินัย ที่ปฏิบัติพื่อขัดเกลากิเลสสในจิตใจเท่านั้นแต่พระจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งประกอบด้วยดังนี้คือ
1.กฎของวินัย ซึ่งพระจะต้องปฏิบัติตาม
2.กฎหมายคณะสงฆ์
3.กฎหมายบ้านเมือง
ยกตัวอย่างเช่น พระรูปหนึ่งไปบิณฑบาตร ตอน 10 นาฬิกา ถามว่าผิดไหม? ตอบว่า ถึงแม้พระรูปนั้นไม่ผิดพระธรรมวินัย ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่ผิดกฎหมายคณะสงฆ์ซึ่งบัญญัติขึ้นมาเพื่อความดีและความสงบเรียบร้อยของสงฆ์นั่นเอง เพื่อที่จะอนุวัตให้เหมาะสมหรือเข้ากับโลกนี้
และถ้าพระอีกรูปหนึ่งค้ายาบ้า ถามว่าผิดไหม ตอบว่าผิด คือผิดกฎหมายบ้านเมือง ถึงแม้ในพระวินัยมิได้กล่าว หรือในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มิได้กล่าวอย่างชัดเจนก็ตามแต่ก็ผิดตามกฎหมายบ้านเมืองก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดำเนินการ
เช่นนี้เป็นต้นจะเห็นตัวอย่างได้ว่า แม้พระสงฆ์องค์เจ้าเองก็ต้องอยู่ภายใต้กฎพระวินัย กฎหมายบ้านเมือง กฎหมายคณะสงฆ์ และพระภิกษุสงฆ์นี้เป็นผู้ที่สืบทอดพระศาสนาโดยตรง นั่นก็คือ พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมก็ขึ้นอยู่กับสถาบันของสงฆ์แทบทั้งสิ้น และเมื่อมีเหตุการณ์ทางบ้านเมืองเข้ามากระทบสิทธิและเสรีภาพของวงการสงฆ์แล้วซึ่งมีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรงแล้ว เราจะกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจได้อย่างไร? ก็ในเมื่อนักบวชของพระพุทธศาสนาผู้ที่มีหน้าที่ในการรักษาศาสนาโดยตรง และมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและอยู่ภายใต้ของกฎหมาย ยกอย่างเช่น ถ้าหากกุลบุตรบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเป็นพระภิกษุแล้ว พระรูปนั้นต้องทำหนังสือสุทธิเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้บวชจริง ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตามกฎหมายพรบ.สงฆ์ ถ้ามิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นพระเถื่อนทันที จะบอกว่า อาตมาบวชในพระศาสนาแล้วอาตมาบวชที่ใจมิใช่บวชที่ร่างกาย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำหลักฐานใบสุทธิอะไรให้ยุ่งยาก การกล่าวเช่นนั้นถูกต้องหรือไม่? ตอบว่าไม่ถูกต้องเป็นอย่างมาก เพราะว่า พระพุทธศาสนาจำเป็นต้องอาศัยอำนาจบ้านเมืองเป็นหลัก และอยู่ใต้กฎเกณฑ์ของบ้านเมือง ถ้าไม่ทำเช่นนันความสงบสุขเรียบร้อยของสังคมก็เกิดขึ้นไม่ได้ สมมตติว่า ถ้ามีคนนอกศาสนา หรือคนอื่น ๆ ที่ปลอมเข้ามาบวช ออกเรี่ยไร หรือสร้างความเสียหายให้แก่พระศาสนา แล้วพวก เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้แล้วพวกเราจะทำอย่างไร? แน่นอนว่า ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ในการควบคุมอยู่บ้างเสียเลย สังคมย่อมเดือดร้อนลำบากอย่างแน่นอน ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนก็อย่างเช่นในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ในตอนนั้นพระพุทธศาสนากำลังประสบความเดือดร้อนครั้งใหญ่ เมื่อเดรถีย์ปลอมเข้ามาบวชและสร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา จำนวนมากถึง 60,000 รูป จนจำเป็นต้องใช้กฎหมายบ้านเมืองเข้ามาจัดการจนในที่สุด เหตุการณ์ในพระพุทธศาสนาก็สงบเรียบร้อยเป็นปกติ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ที่พระพุทธศาสนาจำเป็นต้องพึ่งอำนาจรัฐเมื่อเกิดคราวเดือดร้อนจำเป็น
ดังนั้นพระพุทธศาสนาจะอยู่เพียงลำพังหรือไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสังคมภายนอกเลยไม่ได้ การกระทำในลักษณะเช่นนั้นมิใช่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น แต่เป็นไปเพื่อความหลุดโลก ไม่แตกต่างอะไรกับคนบ้าหรือคนสติไม่ดี เพราะคนเหล่านี้ไม่สนใจตัวเอง และไม่สนใจใครนึกจะเดินไปไหนก็ไป ไม่ว่าเนื้อตัว เสื้อผ้าจะสกปรก ขาดวิ่นอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สนใจทั้งสิ้น อย่างนี้เรียกว่า
“ทางไปสู่ความเป็นคนบ้า มิใช่ทางแห่งการหลุดพ้น”
การกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจไม่เกี่ยวกับการเมืองนั้นจึงถือว่าเป็นการมองเพียงด้านเดียวในลักษณะคล้ายกับคนตาบอด คือมุทะลุเชื่อในความเห็นของตนเพียงด้านเดียวแบบชนิดที่ไม่ยอมฟังใคร ลักษณะความเห็นเช่นนี้จึงใช้ไม่ได้เป็นความเห็นที่ ดูคล้ายจะถูกแต่ผิด
กฎหมายคืออะไร?
สุภาษิตลาตินโบราณได้กล่าวว่า “Ubi Societas Ibi Jus” แปลว่า ที่ใดมีสังคม ที่นั่น มีกฏหมาย ดังนั้นกฎหมายจึงหมายถึง กฎข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความพระพฤติของบุคคล อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนหรือไม่ประปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายจึงอยู่ในลำดับเดียวกับศาสนาและจรรยา คือ เป็นปรากฎการณ์ทางชุมชน ที่รวมกลุ่มกันเป็นสังคม หนึ่ง ๆ
ความสำคัญของกฎหมาย
จะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบันสังคมมนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้กฎหมายเพราะเราจะต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต เพราะคนในสังคมในปัจจุบันยอมรับว่ากฎหมายเป็นมาตราฐานในการตัดสินโดยเฉพาะสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ กฎหมายเป็นตัวกำหนด ยกตัวอย่างเช่น มีคน ๆ หนึ่ง อาศัยอยู่บนที่ดินผืนหนึ่งมาตั้งแต่บรรพบุรุษหลายร้อยปี จนมาถึงยุคเขา เจ้าหน้าที่กรมที่ดินเข้ามาบอกว่าที่ที่เขาให้ควรไปทำโฉนดที่ดินที่อำเภอให้เรียบร้อย เพราะทางบ้านเมืองมีคำสั่งมา ชายคนนั้นบอกว่า “ไม่จำเป็นจะต้องไปทำโฉนดอะไรไห้ยุ่งยากเลย ตระกูลผมนี้อยู่บนผืนแผ่นดินนี้มาเป็นร้อย ๆ พัน ๆ ปี ก็ไม่เห็นเป็นอะไร ผมอยู่บนผืนแผ่นดินนี้ตั้งแต่เกิด แผ่นดินนี้เปรียบเสมือนจิตใจ เลือดเนื้อวิญญาณของผมแล้ว แผ่นดินผืนนี้อยู่ในใจของผมแล้ว แล้วทำไมยุคผมต้องทำโฉนดอะไรให้มันยุ่งยากด้วยเล่า?” ต่อมา... มีคนอีกคนหนึ่งไปทำโฉนดแทนทำให้ชายอีกคนหนึ่งมีอำนาจ มีสิทธิ์ ตามกฎหมาย วันหนึ่งเข้าชายคนที่มีโฉนดก็มาขับไล่คนที่อยู่ตรงนั้นมานาน กรณีย์เช่นนี้ ชายคนที่อยู่มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นร้อย ๆ พัน ๆ ปี จะอ้างต่อศาลได้ไหม? ว่าเขาควรมีสิทธิ์ครอบครองเพราะตั้งแต่บรรพบุรุษ อ้างประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ศาลจะรับฟังใครระหว่างบุคคลที่อ้าง กับบุคคลที่มีเอกสารหลักฐานอยู่ในมือ ใครจะฟังขึ้นมากว่ากัน แน่นอนว่า คนที่มีเอกสารหลักฐานอยู่ในมือฟังขึ้นมากกว่า นั่นหมายถึงคนที่มีโฉนดหรือคนที่มีหลักฐานอยู่ในมือนั่นเอง(ตรงจุดนี้เราจะบอกว่ากฎหมายไม่มีความสำคัญต่อมนุษย์ไม่ได้เลย)
อีกตัวอย่างหนึ่ง ตาม456 วรรค1[1] เรื่องการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกันจำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าหากว่า นายก.ขายบอกขายที่ดินให้กับนายข. นายข.ซื้อและจ่ายเงินทันที โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีย์นี้ นายข.จะฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? ตอบว่าไม่ได้เพราะนายข.มิได้ทำตามกฎหมาย กฎหมายจึงไม่รับร้องและไม่คุ้มครอง นายข.
จะเห็นได้ว่า โลกในสังคมปัจจุบันนี้มันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สมัยก่อนอาจจะพูดคุยเรื่องศีลธรรม ได้ แต่คนในสมัยนี้เขาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายเป็นหลัก เราจะอ้างว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจและไม่ทำตามกฎหมายก็ไม่ได้ หรือจะอ้างตนเองไม่รู้กฎหมายก็ไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน[2] พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยตั้งแต่ก่อตั้งชาติไทยมา ถ้าหากเราจะพูดถึงเฉพาะเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ โดยไม่สนใจในเรื่องของกฎหมายจะได้หรือไม่? ตอบว่าไม่ได้ เราจำเป็นต้องรู้กฎหมาย ถ้าหากไม่รู้กฎหมายในที่สุดมันก็อาจจะย้อนกลับมาทำร้ายคนที่ไม่รู้ก็เป็นได้

การเมืองคืออะไร?
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้จำกัดความว่า “การเมือง หมายถึง การที่เกี่ยวข้องกับรัฐแผ่นดิน มีลักษณะงานที่เกี่ยวกับรัฐ และแผ่นดิน การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ กิจกรรมอำนวย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน”
เพลโตและอริสโตเติลให้ความหมายทางการเมืองไว้ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการแสวงหาความยุติธรรม[3] และการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม หรือชุมชน” เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม และเป็นสัตว์ทางการเมือง มนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นสังคมนั่นเอง
โทมัส ฮอบส์ ให้คำจำกัดความว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงความปลอดภัยของมนุษย์ เขากล่าวว่า มนุษย์โดยธรรมชาตินั้นดุร้ายป่าเถื่อน และไร้เหตุผล จึงจำเป็นต้องมีการเมืองคือการใช้อำนาจเข้ามาบังคับควบคุมมิให้มนุษย์ก่อความขัดแย้งกัน อันจะมีผลให้สมาชิกของสังคมได้รับการประกันความมั่นคง ในความปลอดภัย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
การเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์ในเรื่อง
1. การบังบัญชาและถูกบังคับบัญชา
2. การควบคุมและการถูกควบคุม
3. การเป็นผู้ปกครองและถูกปกครอง
4. พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือรัฐศาสตร์สนใจศึกษาเรื่องอำนาจ[4]
ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ได้ให้คำนิยามว่า การเมือง เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is, who gets “What”, “When” and “How”)
การเมือง (Politics) จึงหมายถึง เรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือเรื่องเกี่ยวกับ การแสวงหาอำนาจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม[5] “การเมือง” (Politics) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับอำนาจอันได้แก่
“อำนาจรัฎฐาธิปัตย์” หมายถึง อำนาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุดภายใต้รัฐนั้น ดังนั้น อำนาจอธิปไตย หรือ อำนาจทางการเมือง หรือ อำนาจรัฐ ก็เป็นอำนาจรัฎฐาธิปัตย์
คำว่า “อำนาจรัฐ” (Power of State) “อำนาจอธิปไตย” (sovereignty) และ “อำนาจทางการเมือง” (Political Power) มีความหมายเหมือนกัน....การเรียกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะเน้นที่เรื่องใด
“อำนาจอธิปไตย” ต้องการเน้นความเป็นเอกราชของชาติ ไม่เคยเป็นเมืองขึ้น (Colony) ของใคร ไม่ต้องฟังคำสั่งจากรัฐอื่น
“อำนาจทางการเมือง” จะเน้นในเรื่องของหลักการ นโยบาย การสั่งการ
“อำนาจรัฐ” เป็นฝ่ายปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจแบบ Power ส่วนศาลและข้าราชการประจำใช้อำนาจแบบ Authority
จะเห็นได้ว่า คำว่าการเมืองนั้น จึงจำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบดังนี้คือ
1.เป็นกิจกรรมที่มีจุดสนใจอยู่ที่การแสวงหาผลประโยชน์ ด้วยการแข่งขัน
· ระหว่างบุคคลต่อบุคคล
· กลุ่มคนต่อกลุ่มคน รวมทั้งองค์การ,สถาบัน,สโมสร,สมาคม
· สังคมทั้งสังคมต่อสังคมอื่น ๆ
2.กิจกรรมซึ่งเกิดขึ้นในถานการณ์
· มีการเปลี่ยนแปลง
· สภาพที่ค่อนข้างขาดแคลน
3.กิจกรรมซึ่งเกี่ยวกับ
· การแสวงหาผลประโยชน์
· ซึ่งมีผลสะท้อนอย่างสำคัญต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่[6]
คำนิยามเกี่ยวกับคำว่าการเมือง ของศาสตรราจารย์ไวลิน ทั้ง 3 ประเด็น ทำให้การเมืองมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับ
1. ระดับกลุ่ม,สมาคม,หน่วยงาน,สหพันธ์,สันติบาต,องค์การ
2. ระดับชาติ เกี่ยวกับสังคมทั้งสังคม เช่นในเรื่องการเลือกตั้ง
3. ระดับนานาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่ง
อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ให้คำนิยามว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ
ความหมายของคำว่าการเมืองจึงสามารถมองไปได้หลายมิติ ซึ่งพอประมวลมาได้ดังนี้คือ
1. การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง เจ้าของคำนิยามในลักษณะนี้ได้แก่นิยามของ เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith) ที่กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
อีกหนึ่งคำนิยามได้แก่ การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ อำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวการมองการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ (Power Approach) จะเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องหรือมีบริบทเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน ต่อผู้อยู่ใต้อำนาจซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง โดยที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (development program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ จึงล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ
2.การเมืองนั้น เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู่แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในอันที่จะแย่งชิงกันเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ผลผลิตจากระบบการเมือง (Political Outputs) ซึ่งเป็นคำศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ตามทัศนะของอีสตัน (David Easton)นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีการเมืองเชิงระบบ (the Systems Theory) อันได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ โครงการหรือแผนงานพัฒนาของภาครัฐและภาคราชการ ซึ่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนมากที่สุด เรียกกันว่าเป็น การวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ ความหมายของการเมืองในลักษณะนี้ก็คือ คือการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม ซึ่งอาจจะมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือขัดกันก็ตาม ไม่ว่าจะมีความเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม แต่ก็ต้องมาทำการต่อสู้เพื่อสรรหาบุคคลเพื่อมาทำหน้าที่ในการปกครองเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยชอบธรรม
3.มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
4.การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ หรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ในสังคมนั้น ๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความเห็นต้องกันยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจเพื่อแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” ในลักษณะความหมายนี้ การเมืองจึงมีสองระดับ ระดับแรก การเมืองอยู่ภายใต้การแข่งขัน ขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่ทุก ๆ ฝ่ายยอมรับได้ ในขณะที่การเมืองในทัศนะของนักคิดกลุ่มพหุนิยมที่ได้กล่าว จะยอมรับในจุดเน้นว่ารัฐ เป็นการรวมกันหรือประกอบกันของกลุ่มหลากหลายในสังคม และรัฐมิได้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร โดยที่มิได้เป็นตัวกระทำทางการเมือง (actors) ที่จะชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่รัฐเป็นเพียงรัฐบาล (State as government) ที่ทำหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายเท่านั้น
5. การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดมีความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ดี การมองการเมืองในลักษณะนี้มีข้อโต้แย้งอยู่มากว่า หากไม่อาจยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ บ้านเมืองย่อมตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากวุ่นวาย ต่อมาจึงมีผู้ให้มุมมองการเมืองใหม่ว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมความขัดแย้งมากว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
6. การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย และการอำนวยการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตามนโยบาย ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดแล้ว การเมืองโดยนัยยะความหมายประการนี้ เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการเมืองในความหมายเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นเพราะอำนาจทางการเมืองนั้น ได้ถูกนำไปใช้ผ่านกระบวนการนโยบายและการแต่งตั้งคัดสรรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ในรูปของอำนาจและการปฏิบัติงานทางการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารหรือการปกครองที่ยากจะแยกออกจากกันได้
7. การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ กล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดใดที่เกี่ยวข้องการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย โดยนัยหนึ่ง การเมืองก็คือกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ นั่นเอง
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเมืองนั้น เป็นเรื่องของการต่อแสวงหาอำนาจ หรือการต่อสู้ช่วงชิงเพื่อรักษาอำนาจ หรือแสวงหาผลประโยชน์ หรือความขัดแย้งก็ตาม ที่มันได้เข้ามาเกี่ยวข้อง กับการปกครอง การเมืองในที่นี้จึงมีความหมายตามทัศนะของชาวตะวันตกนั่นเอง ที่นักวิชาการของไทยไปศึกษามา และรับเอาแนวคิดทางตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทยในปัจจุบัน
การปกครองคืออะไร?
การปกครอง (Government) หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับการบริหารวางระเบียบ กฎเกณฑ์สำหรับสังคม เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข หรือเพื่อให้เกิดการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การเมืองและการปกครอง มีความหมายในทางรัฐศาสตร์ดังนี้ “การเมือง” คือ กิจกรรมทางสังคมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าไปกำหนดทิศทางการปกครองหรือทิศทางการทำงานของรัฐ ส่วน “การปกครอง” คือ การใช้อำนาจของรัฐที่กระทำต่อสังคมหรือการใช้อำนาจเหนือสังคม หรือเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อจัดระเบียบและควบคุมสังคม การเมืองและการปกครองจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เพราะการปกครองจำเป็นจะต้องอาศัยอำนาจคือการเมืองจึงจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ ดังนั้น การศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองจึง หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้อำนาจและระเบียบกฎเกณฑ์การบริหาร อำนาจอธิปไตย มี 3 ประการ คือ
1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย
2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้
3. อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดีตามตัวบทกฎหมาย

ถ้าเราจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้น ก็เปรียบการปกครองนั้นเหมือนน้ำ ประชาชนเหมือนปลา พระสงฆ์ก็คือปลาที่ต้องอยู่ในน้ำด้วย จะกีดกันให้ขึ้นไปอยู่บนบกได้อย่างไร?[7] ในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์มองว่าพระที่อยู่ในฝ่ายธรรมจักรเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องเกื้อกูลในการปกครองประเทศ ช่วยให้ประชาชน ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ท่านจึงพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศตราตั้งและถวายเงิน”นิตยภัต” ด้วย ซึ่งที่จริงแล้วนั้นก็คือเงินเดือนหรือเบื้อยหวัดนั่นเอง แต่พระภิกษุสงฆ์มีประชาชนอุปถัมภ์บำรุงเรื่องปัจจัยสี่ส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ค่าใช้จ่างในการครองชีพจึงไม่มาก ท่านจึงได้ถวายเงินนิตยภัตน้อยกว่าข้าพราชการฝ่ายอาณาจักร แต่ถือว่าพระสงฆ์รับราชการอยู่ฝ่ายธรรมจักรหรืออาจจะเรียกว่า พระสงฆ์คือข้าพราชการสนองรับใช้พระพุทธเจ้านั่นเอง

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คำว่าการเมืองในปัจจุบันแบบตะวันตกได้แทรกซึมเข้าไปในสังคมไทยแทบทุก ๆ สังคม การเมืองมิได้มีเฉพาะอยู่เพียงแค่สังคมในระดับภาครัฐ หรือระดับประเทศเท่านั้น แต่มันได้แทรกซึมเข้าสู่ทุก ๆ สังคม ทุกองค์กร ยกตัวอย่าง พนักงานบริษัท ก. ถามพนักงานบริษัท ข. ว่า “ช่วงนี้เหตุการณ์ในบริษัทเป็นอย่างไรบ้างล่ะ!”
พนักงานบริษัท ข. ตอบว่า “ช่วงนี้การเมืองภายในบริษัทไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่?”
นั่นหมายความว่า ช่วงนี้เหตุการณ์บริษัท ข.ไม่ค่อยที่จะมีความั่นคง คือ อาจจะมีการตั้งเป็นกลุ่ม เป็นก๊ก เป็นฝักเป็นฝ่าย และอาจช่วงชิงอำนาจกันในการบริหาร ผลที่ตามมาอาจเกิดความขัดแย้ง ชิงดีชิงเด่น ใส่ร้ายป้ายสี เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ จึงตามมา นั่นเพระการเมืองเข้าไปมีบทบาทในสังคมไทยแทบทุกระดับในสังคม เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและรู้จัก คำว่าการเมืองให้มาก มิใช่เข้าใจอยู่ในวงจำกัดว่าการเมืองเป็นเรื่องของภาครัฐอย่างเดียวเช่นนี้มิได้

พระพุทธเจ้ามองการเมืองอย่างไร?
คำว่าการเมืองนั้นเป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอำนาจ การแข่งขันแสวงหาอำนาจ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับอำนาจ แต่คำลักษณะนี้มิได้มีความหมายในแง่ลบเสียทีเดียว เรานำเอาความคิดมาจากตะวันตก ก็คือเป็นแนวคิดที่ตะวันตกพยามที่จะแยกเอาศีลธรรมออกจากการเมือง เมื่อกล่าวถึงเรื่องการเมืองแล้วก็จะไม่พูดเรื่องคุณธรรม เพราะพวกเขามองว่าคุณธรรมนั้นเข้ามาขัดขวางที่มนุษย์จะแสวงหาอำนาจ ทำอะไรยากลำบาก จึงพยามแยกคุณธรรมออกไป เมื่อแยกออกการแสวงหาของมนุษย์จึงทวีความรุนแรงมากขึ้น มันได้ กระตุ้นกิเลสตัณหาความทะยานอยากของมนุษย์ให้เหิมเกริมมากยิ่งขึ้นการเมืองในสายตาคนทั่วไปจึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะดีเป็นเรื่องของผลประโยชน์
แต่คำว่าการเมืองในทางพระพุทธศาสนานั้นมองว่าการเมืองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคู่กับคุณธรรม เรียกว่า ธรรมมะธิปไตย
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากที่ทรงตรัสรู้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงได้เสด็จไปโปรด ปัจจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทยวัน แคว้นกาสี ต่อมาทรงได้แสดงธรรมโปรด ยสะ พร้อมทั้งสหาย รวมพระสงฆ์ทั้งหมด 60 องค์ จึงทรงส่งพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ไปประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก
สำหรับพระยสะและพระสหายนั้น ถ้าเราลองวิเคราะห์ดูว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระยสะและเหล่าพระสหายของพระยสะออกไปประกาศพระศาสนานั้น ถือว่าเป็นการเมืองหรือไม่ ? ตรงจุดนี้น่าคิด?
การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ
และศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องของความเชื่อของมนุษย์

คำถามจึงตามมาว่า และบรรดาพระยสะและเหล่าพระสหายนั้นเป็นลูกบรรดาของเหล่าเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ มีอำนาจในการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อให้เกิดขึ้นแก่คนทั้งหลายในเมืองราชคฤห์ได้หรือไม่?
ตอบว่าได้ เพราะว่า พระยสะและเหล่าพระสหาย เป็นลูกเศรษฐี เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง สามารถความน่าเชื่อถือ สร้างอำนาจให้คนทั้งหลายคล้อยตามได้เป็นอย่างดี และยังสร้างคำถาม หรืออย่างน้อยก็สร้างความฉงนให้เกิดขึ้นในใจของคนทั่วไปได้เป็นอย่างดีว่า
ศาสนานี้ดีอย่างไรหนอ?
ทำไมถึงขนาดที่มีลูกเศรษฐีจำนวนมากมายออกบวช
และศาสนานี้คงจะต้องมีดีอย่างแน่นอน!
น่าสนใจ น่าทดลอง
อาจกล่าวสรุปได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองในลักษณะกลาย ๆ คือเป็นลักษณะการเมืองที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางจิตใจ ทางด้านความเชื่อถือ ตัวอย่างต่อมาก็คือ
หลังจากทรงส่งพระสาวกออกไปประกาศศาสนาครั้งแรกแล้ว พระพุทธองค์ทรงได้เสด็จไปโปรด อุรุเวลากัสปะ ซึ่งเป็นนักบวชที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับและนับถือของคนในเมืองนั้นมาก และในที่สุด อุรุเวลากัสปะก็หันมานับถือพระพุทธศาสนาและออกบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา มีผลทำให้ นทีกัสปะ และคยากัสปะ ซึ่งเป็นน้องชาย พร้อมด้วยบริวารทั้งสามท่านรวม 1000 รูปออกบวชตาม คำถามตามมาว่า การเผยแผ่ธรรมในครั้งนั้นเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่? ตอบว่าเกี่ยวข้อง เพราะอุรุเวลากัสปะเป็นนักบวชเจ้าลัทธิที่มีอำนาจอิทธิพลทางด้านความคิดความเชื่อต่อสาวกของตนและคนในเมืองนั้นนั่นเอง
อีกตัวอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้ไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งในตอนนั้น ประชาชนในเมืองยังไม่รู้ว่า ระหว่างพระพุทธเจ้าและพระอุรุเวลากัสปะ ใครกันที่เป็นศาสดา ใครกันที่เป็นสาวก
พระพุทธเจ้าทรงทราบความดำริในใจของพราหมณ์คหบดีชาวมคธนั้น จึงตรัสกับพระอุรุเวลกัสปะว่า
“กัสปะ ท่านอยู่อุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิล ท่านเห็นเหตุอันใดจึงยอมสละการบูชาเพลิง”
ท่านพระอุรุเลกัสปะทูลตอบว่า “ยัญทั้งหลายกล่าวยกย่อง รูป เสียง กลิ่น รส ว่าเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทราบจากพระพุทธองค์ว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นมลทินเป็นกิเลส เพราะเหตุนัน ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ยิ่นดีในการเซ่นสรวง การบูชา”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า “กัสปะ เมื่อของท่านไม่ยินดีแล้วในอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น และรสเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ท่านยินดีใน เทวโลก หรือมนุษยโลก”
พระอุรุเวลกัสปะทูลตอบว่า “ข้าพระพุทธเจ้าได้เส็นทางอันสงบ ปราศจากกิเลสปราจากความกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น อันเป็นธรรมที่พระองค์แนะให้ บรรลุ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีทั้งเทวโลกและมนุษยโลก” หลังจากนั้นพระอุรุเวลกัสปะลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ซบศรีษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสาสนาดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกของพระองค์”[8]
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหมดจึงเข้าใจ และยอมรับในพระผู้มีพระภาคเจ้า จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมที่ชื่อว่า อนุปุพพิกถา และอริยสัจ 4 จนในที่สุด พระเจ้าพิมพิสาร พราหมณ์ คฤหบดี ชาวมคธ จำนวน 11 นหุต(หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน อีก 1 นหุต(1หมื่นคน) ขอแสดงตนเป็นอุบาสก
เราจะกล่าวว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองมคธในครั้งนั้น
การประกาศธรรมของพระองค์เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่?
ตอบว่าเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน เพราะเหตุทีว่า การเมืองในสมัยนั้น อำนาจที่มีผลกระทบต่อสังคมมีด้วยกันอยู่ 2 อย่างคือ

อำนาจการเมืองในสมัยครั้งพุทธกาล
1.อำนาจจากผู้ปกครองบ้านเมืองโดยตรง คือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมีอำนาจสุงสุด
2.อำนาจจากนักบวช หรือเราอาจจะเรียกว่าอำนาจแฝงก็ได้ คือเป็นอำนาจความเชื่อถือของประชาชน ถ้าหากบ้านเมืองเกิดขัดแย้งกับนักบวช กษัตริย์หรือผู้ปกครองบ้านเมืองจะสามารถอยู่ได้หรือไม่? ตอบว่าอยู่ไม่ได้
เพราะว่าในยุคนั้น เขาให้ความสำคัญต่อนักบวชนั่นเอง อย่างเช่นในสมัยยุคล้านนาที่ตกเป็นเมืองขึ้นพม่าถึง400 กว่าปี กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ของพม่าเขาปฏิบัติต่อพระสงฆ์กันอย่างไร ? เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์จะนั่งวอเสด็จไปที่ไหนก็ตามเมื่อพบเห็นพระสงฆ์เดินสวนมาต้องรีบลงจากวอและเข้าไปหาพร้อมทั้งก้มลงกราบที่เท้า ทำเช่นนี้ทุกครั้งและทุก ๆ พระองค์ จนเป็นเหตุให้ไม่มีการต่อต้านจากฝ่ายสงฆ์ ล้านนาจึงตกเป็นเมืองขึ้นพม่ามานานแสนนาน หรือในยุคสมัยของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นยุคนั้นพระมีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะเรื่องการเมือง พระมหากษัตริย์ไม่กล้าหรือแตะต้องอะไรที่เป็นผลกระทบต่อพระศาสนาเลย โดยให้ความสำคัญในพุทธจักรเป็นอย่างมาก อย่างพระเทียรราชาที่ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ในช่วงนั้นพระองค์ได้ถูกใส่ความว่าเป็นผู้วางยาพิษพระชัยราชาซึ่งเป็นพระเชษฐา ทหารกำลังเดินทางมาจับตัวไปดำเนินคดี แต่พระองค์ทรงไหวตัวทันและบวชในพระพุทธศาสนาเป็นพระภิกษุ เมื่อทหารเหล่านั้นทราบความจึงได้เดินทางกลับไปรายงาน
ในกรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่านักบวชมีอำนาจทางการเมืองแฝงอยู่ในสังคม เช่นเดียวกับพระอุรุเวลกัสปะที่ยอมรับในพระพุทธศาสาและก้มศรีษะมอบแทบพระบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้คนทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสศรัทธา แม้พระเจ้าพิมพิสารเองที่ทรงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้วยิ่งเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรม
จึงเห็นได้ว่า แม้แต่การประกาศพระศาสนา ในบางครั้งบางกรณีย์ การเมืองก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ในการที่จะใช้เป็นเครื่องมือเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราจะกล่าวไม่ได้ว่าศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจอย่างเดียวไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกับโลก หรือกฎหมาย การกล่าวเช่นนี้เป็นเป็นคำพูดที่ผิดเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ทำให้ข้าพราชบริพาร ชาวบ้านต่างก็หันมานับศาสนาตามผู้ปกครองตน ตรงนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเมืองอีก
และหลังจากนั้นไม่นานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้เสด็จ พระพุทธบิดาและชาวเมืองกบิลพัสดุ์ โดยทรงเสด็จพร้อมกับพระอรหันต์ขีณาสก 20000 รูป คำถามถึงตามมาว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้พาพระสาวกไปจำนวนมากมาย
สาเหตุเพราะชาวศากยะเป็นผู้มีทิฐิแรงกล้านั่นเอง
การเสด็จพร้อมด้วยสาวกมากขนาดนั้นถ้ามองดูจากภายนอกเข้ามาแล้วเปรียบเสมือน
1.การสร้างพลังอำนาจให้ดูน่าเกรงขาม เพราะเมื่อขบวนพระศาสดาจะเสด็จไปที่ไหนก็ตาม ประชาชนทั้งหลายก็จะแตกตื่น และทึ่งในความมหัศจรรย์ที่ไม่เคยมีปรากฎการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อน
2.สร้างความศรัทธาแก่ผู้พบเห็น โดยเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เสด็จไปไหนมีพระสงฆ์สาวกถึง20000 องค์เสด็จตามยังความปลาบปลื้มปิติแก่คนที่ผ่านไปมาหรือพบเห็นประสบ
ดูไปแล้วการเสด็จไปโปรดชาวเมืองกบิลพัสดุ์ในครั้งนั้นพระพุทองค์ก็ทรงใช้อำนาจเพื่อให้ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็นว่า กองทัพธรรมของพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่ขนาดไหน? และพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งใหญ่เพียงใดที่มีสาวกมากมายถึงขนาดนี้?
เมื่อไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ก็ยังไม่เท่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ให้แก่ชาวเมืองได้ดูเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อสร้างอำนาจแห่งความศรัทธาให้เกิดขึ้น ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงต้องให้พระสงฆ์สาวกมากมายถึง สองหมื่นกว่าองค์เสด็จตามไป เมื่อทรงเสด็จไปแล้วทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อีกด้วย ทั้งนี้เพราะว่าชาวศากยะนั้นค่อนข้างมีทิฐิแรงกล้าไม่ฟังหรือเชื่ออะไรง่าย ๆ นั่นเอง แต่
การเมืองแนวพุทธนั้นสร้างอำนาจขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือชี้ทางให้คนพ้นทุกข์เท่านั้น เรียกว่าการเมืองบริสุทธิ์ หรือการเมืองโลกุตระ มิใช่สร้างอำนาจเพื่อแสวงหายิ่งใหญ่ในตนเองเหมือนกับการเมืองแนวตะวันตกทั่วไป
สรุปได้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมองการเมืองในลักษณะกลาง ๆ คือ ไม่ดี ไม่เลว แล้วแต่เราจะนำไปใช้อย่างไร?ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปรียบเสมือนมีด ซึ่งมีคมมี และปลายมีที่แหลม เราจะกล่าวว่ามัน เป็นสิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะมีดก็มีประโยชน์มากมายถ้าเรานำไปใช้ทำประโยชน์ หรืออย่างเช่นไฟ ที่มีความร้อนในตัว จะกล่าวว่าไฟไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะมันก็มีประโยชน์มากมายมหาศาล และก็มีโทษมหันต์
ตรงจุดนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงมองการเมืองเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่เราจำเป็นต้องรู้จักมัน
ศึกษามันให้เป็นอย่างดี ว่ามันเป็นอย่างไร ?
จะเกี่ยวข้องหรือผูกพันธ์กับมันในแง่ไหน?
เพราะบางครั้งถ้าเรารู้จักมันและใช้มันในทางที่ถูก ถึงแม้ว่าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุไปเกี่ยวข้องกับการบ้านการเมืองก็ตาม อย่างเช่น
ในเรื่องที่ทรงบัญญัติห้ามมิให้พระไปดูกองทัพที่เขายกไป,ห้ามไปดูเขารบกัน หรือ ห้ามพักอยู่ในกองทัพ เกิน3วัน เป็นต้น แต่ถ้าเราพิจารณาดูความมุ่งหมายของพระพุทธองค์แล้วจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้ามิทรงต้องการพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันกับการบ้านการเมืองมากเกินไป แต่ก็ทรงมิได้ให้พระภิกษุไม่ยุ่งหรือไม่สนใจบ้านเมืองเลย ดังนั้นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจึงไม่ควรที่จะเข้าไปพัวพันทางด้านการเมืองแต่จำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับการเมือง
เพราะถ้าหากว่าพระภิกษุไม่สนใจทางด้านบ้านเมืองเลย พระพุทธศาสนาก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมนั้น ๆ เช่นกัน เพราะการเมืองเป็นเรื่องของมนุษย์ปุถุชนที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังต้องการซึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ และอำนาจ เมื่อมนุษย์นั้นยังมีกิเลสอยู่ ทำให้จึงทำให้ความไม่แน่นอน ย่อมเกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นอยู่เสมอ ถ้าหากเราไม่สนใจเกี่ยวกับบ้านเมืองก็เป็นเรื่องที่ลำบากที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้
ในสมัยครั้งพุทธกาลมีนักบวชนอกศาสนาได้มาซื้อที่ดินติดกับพระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในพระศาสนาได้ในอนาคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเดินเรื่องนี้เอง โดยทรงเสด็จไปหาพระเจ้าปเสนทิโกศล และจัดการเรื่องนี้ในที่สุดพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงถวายที่ดินที่เป็นปัญหานั้น ทรงพระราชทานนามว่า “ราชการาม” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้เป็นอารามของภิกษุณี
ถ้าสมมตติพระพุทธเจ้าทรงนอนใจ ไม่สนใจ เพราะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ ศาสนาอื่นเขาจะทำอย่างไรก็ช่างเขา ศาสนาจะเจริญหรือเสื่อมมันเป็นเรื่องของจิตใจไม่เกี่ยวกับเรื่องใด ๆทั้งสิ้น ในกรณีย์ลักษณะนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ ตอบว่า ไม่ได้ เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคนทุกคน แม้พระพุทธองค์เองก็ทรงทำให้เป็นแบบอย่างในการปกป้องพระพุทธศาสนาเอาไว้
ภาพจะเป็นอย่างไร ถ้านักบวชศาสนาอื่นมาสร้างสำนักอยู่ข้าง ๆ พระเชตวัน แน่นอน พระภิกษุจะต้องถูกกลั่นแกล้ง รบกวน หรือถูกระทำด้วยกลอุบายต่าง ๆ นานา และถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปพระพุทธศาสนาก็อยู่ลำบาก พระพุทธองค์ทรงไม่นอนใจเหมือนกับคนสมัยนี้ที่อ้างว่าตัวนับถือพุทธ แต่จิตใจเหมือนเป็นคนไม่มีศาสนา ละเลย เพิกเฉย ไม่เหลียวแลพระศาสนา ปล่อยให้พระพุทธศาสนาล่องลอยเคว้งคว้าง โอนเอนไปมา ไม่แยแสแม้ว่าคนในศาสนาอื่นจะเข้ามาเล่นการเมืองแล้วเข้ามาทำลายพระพุทธศาสนาอย่างไร? ก็ไม่สนใจ ปล่อยให้คนนอกศาสนาย่ำยีทำลายได้อย่างสมใจ แล้วคนไทยทั้งหลายกลับมาเรียกร้องเรื่องศีลธรรม คุณธรรมอีก ว่าควรจะมี ควรที่จะให้เกิด อย่างนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าต้องยุ่งการเมืองเพื่ออะไร?
จะเห็นได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงแม้พระองค์ทรงตรัสรู้หมดสิ้นจากกิเลสแล้วก็ตาม แม้ว่าบ้านเมืองเดือดร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นพระญาติของพระองค์แล้ว ทรงต้องเสด็จไปเพื่อที่จะช่วยเหลือแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น กรณีย์ที่ชาวเมืองศากยะกับชาวเมืองโกลิยะได้ยกทัพมาพบรบกันเพื่อแย่งน้ำ พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาห้ามเอาไว้ได้ทัน และแสดงธรรมโปรด
หรือกรณีย์พระเจ้าวิฑูทัพพะโกรธแค้นชาวศากยะคิดจะยกทัพไปแก้แค้น พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปห้ามทัพถึง 3 ครั้ง ที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปห้ามทัพนั้น มิได้ต้องการให้พระญาติของพระองค์ปลอดภัยแต่เพียงอย่างเดียว เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบอยู่แล้ว ว่าเป็นกรรมมาตั้งแต่อดีตชาติ ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่ทรงใช้เวลาที่พระเจ้าวิฑูทัพพะยกทัพกลับไป ทรงเสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวศากยะจนบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก สำเร็จเป็นพระโสดาบัน กรณีย์นี้เองที่พระพุทธองค์ทรงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเพื่อประโยชน์สุขของคนในสังคม

การเมืองการปกครองในแนวทางพระพุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางหลักการเมืองการปกครองเอาไว้แก่เจ้าลิจฉวีซึ่งได้ปกครองแบบสามัคคีธรรมหรือสมาพันธรัฐ ซึ่งถือว่ามีการปกครองที่ถือค่อนข้างที่จะเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในยุคนั้น หลักธรรมการปกครองซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้มีชื่อว่า “อปริหานิยธรรม” แปลว่า ข้อปฏิบัติไม่เป็นที่ตั้งของความเสื่อม หรือข้อที่ประพฤติปฏิบัติแล้วจะไม่นำไปสู่ความเสื่อมเรียกอย่างง่ายว่า ปฏิบัติแล้วจะสามารถรักษาความเจริญรุ่งเรืองเอาได้นั่นเอง: ซึ่งมีทั้งหมด 7 ประการ ได้แก่
1.มีกรประชุมกันเสมอ และพร้อมเพรียง
2.การประชุมเป็นไปโดยสามัคคี เข้าประชุมพร้อมกัน เลิกประชุมพร้อมกัน ปฏิบัติกรณียะที่ควรทำโดยพร้อมกัน
3.ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ควรบัญญัติ ไม่ทำลายข้อบัญญัติที่เหมาะสม ยึดถือปฏิบัติตามบัญญัติที่รับรองอยุ่แล้ว
4.สักการะ เคารพ นับถือ บุชา ผู้เก่าแก่ของบ้านเมือง และเชื่อฟังปฏิบัติตาม
5.ไม่ทำการข่มขืนน้ำใจกุลสตรีโดยพลการ เชิดชูเกียรติศักดิ์ศรีของกุลสตรีให้สูงเด่น
6.สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชานียสถานทั้งภายในและภายนอกเมือง ไม่ทำลายการบริจารบำรุงที่เป็นมาโดยธรรมแต่โบราณ
7.ถวายการคุ้มครองป้องกันด้วยดีในพระอรหันต์ของชาวเมือง พร้อมด้วยใจปราถนาว่า ท่านที่ยังไม่ได้มา ขอได้โปรดมาเมืองข้าพเจ้าเถิด ส่วนท่านที่มาแล้วของให้ท่านอยู่เป็นผาสุกในเมืองนี้เถิด
จะเห็นได้ว่า แนวทางการปกครองที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้นั้นซึ่งสามารถพอที่จะสรุปเป็นแนวและใจความได้
ดังนี้คือ
อปริหานิยธรรมข้อที่1 และข้อที่2 นั้น พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่อง
*1.หลักความสามัคคี คือมีความคิดเห็น การแสดงออกเป็นไปแนวทางเดียวกัน มีความรักใคร่สมัคสมานสามัคคีเป็นพี่น้องกัน
*2.หลักความเสมอภาค คือไม่เลือกปฏิบัติคือต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบของสังคมที่วางไว้
อปริหานิยธรรมข้อที่3 นั้นพระพุทธองค์ทรงเน้นเรื่อง
*3.หลักความเหมาะสม ซึ่งหมายถึง การเอารับสิ่งที่ไม่ควรไม่เหมาะสมกับสังคมไทยมาใช้และบัญญัติไว้ อย่างเช่น รับแนวคิดวัฒนธรรมตะวันตกมาเป็นข้ออ้างและนำมาบัญญัติเอาไว้เป็นกฎหมาย จะเห็นได้ว่าทุก ๆ วันนี้ คนไทยคิดอย่างไรก็ไม่ค่อยที่จะแตกต่างจากฝรั่งมากนักเพราะอิทธิพลตะวันตกได้แพร่ระบาดเข้ามาดุจเชื้อโรค ทำให้คนไทยจึงต้องตกเป็นทาสวัฒนธรรมตะวันตกโดยปริยายไม่ว่า จะเป็นเรื่อง วัตถุนิยม เห็นเงินเป็นพระเจ้า บริโภคนิยม เสรีนิยม ทุนนิยม ต่างเหล่านี้เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อจะร่างหรือบัญญัติกฎหมายจึงเป็นไปตามแนวทางตะวันตกทุกประการ ส่วนเรื่องการทำลายข้อบัญญัติที่เหมาะสมนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนในรั,ธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนี้ได้ชัดเจนว่า ได้ถอดข้อความบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะซึ่งอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเมืองไทยเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนามายาวนานครั้งตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ การกระทำของนักกฏหมายเป็นการทำลายความมั่นคงของประเทศชาติและพระพุทธศาสนาหรือไม่?หรือออกกฎหมายเพื่อรับใช้ศาสนาอื่น ๆ เท่านั้น
อปริหานิยธรรมข้อ5 กล่าวถึงเรื่อง
*4.หลักความเสมอภาคทางเพศ หรือยกย่องให้เกียรติสตรี หรือปัจจุบันได้ออกมีการมาเรียกร้องให้สตรีมีความเสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษ (เพราะไปรับแนวคิดมาจากตะวันตก) ซึ่งทางพระพุทธศาสนาได้มีมาก่อนตั้งนานแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมองว่า ไม่ว่า หญิง หรือชาย ก็สามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐนั่นเอง
อปริหานิยธรรมข้อ 4 ข้อที่6 ข้อ7 ได้กล่าวถึงเรื่อง
หลักของการให้เกียรติสิทธิและหน้าที่ผู้อื่น หมายถึง การยกย่องให้เกียรติ บุคคลที่มีอายุ หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
*5.หลักการของศีลธรรม หมายถึง การมีความอ่อนน้อม เครพบูชาในสิ่งที่ตนนับถือ มีมโนธรรม ตลอดจนให้การอุปถัมภ์คุ้มครองพระศาสนา ซึ่งเมืองไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับคุ้มครองอุปถัมภ์เท่าที่ควร พระทุกวันนี้จึงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถูกตัดหางปล่อยวัด ถูกกีดกันไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสังคม ทั้งที่เป็นหน้าที่ของพระเจ้าพระสงฆ์ที่จะต้องอบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี แต่กลายเป็นว่าพระทุกวันนี้ถูกตอนมิให้ไปไหน ให้กินนอน อยู่กับที่ แล้วอย่างนี้จะไม่ให้พระภิกษุ อุบาสกอุบาสิกา ออกมาเรียกร้องได้อย่างไร?
สรุปได้ว่า หลักการเมืองการปกครองในแนวทางพระพุทธศาสนานั้นจะต้องประกอบด้วยหลักการ สามัคคี เสมอภาค(ทางสถานภาพ ทางเพศ) การให้เกียรติ ศีลธรรม ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้จะทำให้สังคมเจริญไม่ก้าวถอยหลังไปสู่ความเสื่อม พอหันกลับมาดูสังคมไทยในปัจจุบันในเรื่องการปกครองแล้ว จะเห็นได้ชัดว่ามันแตกต่างจากแนวทางการเมืองการปกครองแบบแนวทางพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง

การเมืองไทยการเมืองทาสตะวันตก
ดังนั้นถ้าเราลองวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะเราก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า การเมือง และพระพุทธศาสนา ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร
ทุกวันนี้เรารับแนวคิด รูปแบบต่าง ๆ มาจากทางตะวันตกแทบทั้งสิ้น จนแทบไม่หลงเหลือแนวคิดอะไร ๆ ที่เป็นของตัวเองอยู่เลย ฝรั่งคิดอย่างไร? คนไทยก็คิดอย่างนั้น ฝรั่งหลุดโลก คนไทยก็หลุดโลกยิ่งกว่า ฝรั่งบ้า คนไทยบ้าจนสติแตก ดูอย่างเช่น อินเตอร์เน็ตที่สร้างขึ้นจุดประสงค์เพื่อความรู้ เพื่อการศึกษา เพื่อให้คนทั้งโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ แต่ คนไทย เด็กไทย กลับใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ผิด แทนที่จะใช้เพื่อแสวงหาความรู้ กลับใช้ไปในทางลามกอนาจาร เรื่องพวกนี้เด็กไทยติดอันดับหนึ่งของโลกไปเรียบร้อยแล้ว หรือไม่ก็ใช้เล่นเกมส์ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อระบบการเรียนรู้ของเด็กไทย แทนที่เด็กไทยจะฉลาดเพราะแสวงหาความรู้ แต่ปัจจุบันเด็กไทยกลับโง่ชนิดดักดานอย่างแสนสาหัส ตรงจุดนี้เองที่คนไทยควรหันมามองมาดูความคิดวัฒนธรรมดั้งเดิมของเราว่าจะเหมาะสมกว่าวัฒนธรรมตะวันตกไหม?
ลักษณะการเมืองก็เช่นเดียวกัน คนไทยก็รับมาจากฝรั่งนั่นอีก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ต้องประชาธิปไตย ต้องมีเสรีภาพ มีสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น ซึ่งการเมืองแบบตะวันตกนั้นเป็นที่รู้ดีว่าเป็นการเมืองแนววัตถุนิยม เป็นการเมืองค่อนข้างสุดโต่ง สอนให้มนุษย์เอาเปรียบมนุษย์ จะเห็นได้ว่าโรงศาลในปัจจุบันเต็มไปด้วยคดีความต่างมากมายนับไม่ถ้วนเพราะเกิดจากการที่มนุษย์เอาเปรียบมนุษย์ ประชาธิปไตยในแนวคิดตะวันตกจึงน่าจะมีความหมายว่า “มือใครยาว สาวได้สาวเอา” ใครเก่งกว่า ฉลาดกว่า มีความรู้มากกว่าย่อมได้เปรียบ
ขณะที่การเมืองไทยตั้งแต่โบราณมีลักษณะเอื้ออารี เมตตากรุณา เพราะได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ยกตัวอย่าง ในสมัยสุโขทัยรัฐศาสตร์การปกครองเป็นลักษณะ พ่อปกครองลูก จนมาถึงรัตนโกสินตอนต้น และตอนกลาง ถึงแม้การปกครองจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบสมบูรณายาสิทธิราชก็ตาม แต่กษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ทรงไม่ทิ้งเรื่องศาสนา การเมืองจึงควบคู่ศาสนาและศีลธรรม สอดคล้องแนวคิดโสเครตีสที่กล่าวถึงการเมืองกับศีลธรรมควรจะต้องไปด้วยกัน แต่นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่กับมีแนวคิดว่า การเมืองไม่ควรเกี่ยวข้องกับศาสนา ควรแยกศีลธรรมออกจากการเมือง เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมก็เลยต้องเดือดร้อนวุ่นวาย แล้วประเทศไทยก็รับเอาแนวความคิดทางการเมืองที่วุ่นวายนี้จากตะวันตกมาอีกที ทำให้สังคมไทยยิ่งนานวันยิ่งวุ่นวายมากขึ้น
น็
คำว่าภูมิปัญญาไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น จะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าว แต่กลายเป็นว่าจะส่งเสริมเรื่องดี ๆ กลับเอาส่งเสริมเรื่องอบายมุขที่เลวทรามทำให้สังคมไทยตกต่ำลงไปอีก อย่างเช่น ในสมัย นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงเรื่องภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ส่งเสริมให้คนไทยผลิตเหล้าสาเก อุ สาโท หวยบนดิน พนันไก่ชน เป็นต้น แทนที่คนไทยจะได้ความรู้ ปัญญา จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลับ ลุ่มหลง มัวเมา งมงาย หนักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นายกคนนี้จะหลีกเลี่ยงหรือพูดน้อยที่สุด เพราะมันไม่สะดวกในการกระทำความชั่ว เพราะเขามองว่าศาสนานี้เป็นตัวบ่อนทำลายหนทางทำมาหากินของเขา มันไม่สะดวกถ้ามีศาสนามาขวางลำเอาไว้ แนวคิดการเมืองเช่นนี้เองเรียกว่า แนวคิดทางการเมืองแบบตะวันตกอย่างแท้จริง ซึ่งนักการเมืองไทยโดยส่วนใหญ่ได้ตกเป็นทาสมันไปเรียบร้อยแล้ว แล้วจะเรียกร้องคุณธรรมกันได้อย่างไร?

ประชาธิปไตยคืออะไร?
ลักษณะการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ การยึดหลักว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน เริ่มมีขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐกรีกโบราณเมื่อประมาณ 500 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบโดยตรง การที่นครรัฐกรีกสามารถปฏิบัติระบบอบประชาธิปไตยโดยตรงได้ก็เป็นเพราะว่ามีอาณาเขตไม่กว้างขวางและมีจำนวนประชากรไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันนี้ประชากรมีมาก ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้จึงเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทนหรือประชาธิปไตยโดยอ้อม
ประชาธิปไตยโดยตรง ( Direct Democracy) จึงหมายถึง การที่ประชาชนผู้เป็นพลเมืองทุกคนมีสิทธิโดยตรงในการปกครองหรือการวินิจฉัยตัดสินปัญหาของประเทศ กล่าวคือ มีสิทธิเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาประชาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดในการแสดงเจตจำนงของรัฐ
ประชาธิปไตยโดยอ้อม ( Indirect Democracy) หรือประชาธิปไตยโดยผู้แทนหรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน ( Representative Democracy) หมายถึง การให้ประชาชนผู้เป็นพลเมืองมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทน
ราษฎรเข้าไปทำหน้าที่แทนตัวเองในรัฐสภา และเจตจำนงของรัฐสภาถือเป็นความต้องการของประชาชน เช่น ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของ ไทย อังกฤษ หรือประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ฯลฯ
หลักประชาธิปไตยมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประการ คือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย การปกครองแบบประชาธิปไตย และวิถีชีวิตประชาธิปไตย
อุดมการณ์ประชาธิปไตยจะเน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคส่วนบุคคลควบคู่กันไป
สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ โดยชอบธรรม โดยอำนาจอื่นแม้กระทั่งอำนาจของรัฐจะกว้าวก่ายในสิทธิของบุคคลไม่ได้
เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำการใด ๆ ได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจำกัดว่า การกระทำนั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยจำแนกได้ดังนี้
1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา โดยรัฐประชาธิปไตยจะอนุญาตให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่หยาบคายลามก หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ฯลฯ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้มีค่าสูงมาก เพราะเชื่อว่า หากยอมให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีแล้ว การขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจะไม่เกิดขึ้น
2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา คนทุกคนย่อมมีสิทธิโดยสมบูรณ์แบบที่จะเลือกนับถือหรือศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งก็ได้เพราะศาสนาเป็น เรื่องของความเชื่อถือเป็นเรื่องของจิตใจ แต่เขาก็ไม่สามารถที่จะปฏิ เสธกฎหมายของรัฐถึงแม้ว่าจะขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของเขาก็ตาม ?
3. เสรีภาพในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม โดยต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย แต่ต้องไม่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นอุปสรรคต่อผลประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม โดยที่การกระทำนั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินเลยขอบเขตแห่งกฎหมายบ้านเมือง
4. สิทธิในทรัพย์สิน คนทุกคนมีสิทธิที่จะมีทรัพย์สมบัติเป็นของตนเอง รัฐจะต้องทำหน้าที่ป้องกันภัยอันอาจจะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชนภายในรัฐ
• สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษถึงแก่ชีวิตเสียอิสรภาพ หรือเสียทรัพย์สินโดยปราศจากการพิจารณาตามกระบวนการแห่งกฎหมาย
• สิทธิส่วนบุคคล สิทธิมูลฐานที่ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล เช่น เสรีภาพในชีวิตและร่างกายการเลือกประกอบอาชีพ การสมรส การหย่าร้าง ฯลฯ โดยบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยจำแนกออกได้ 5 ประการ คือ
1. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย หมายถึง บุคคลจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียม จะต้องใช้กฎหมายเดียวกัน
2.ความเสมอภาคทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมการเมือง เช่น สิทธิเลือกตั้งเมื่ออายุถึงเกณฑ์ เป็นต้น
3. ความเสมอภาคในโอกาส หมายถึง คนทุกคนจะต้องได้รับโอกาสที่จะใช้ความสามารถของเขาในการศึกษา การงาน และการแสวงหาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ทัดเทียมเป็นแนวเดียวกัน
4. ความสามารถภาคทางเศรษฐกิจ หมายถึง สภาพความใกล้เคียงกันในฐานะทางเศรษฐกิจแต่มิได้หมายถึง การที่คนทุกคนจะต้องมีรายได้เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเช่น
• มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อมิได้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น
• บุคคลควรมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอสมควร คือ มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพ เช่น การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การใช้สิทธิคนยากจนรับการรักษาพยาบาลฟรีหรือโดยบาย 30 บาทรักษาได้ตายทุกโรค และสวัสดิการอื่น ๆ เป็นต้น
5.ความเสมอภาคทางสังคม คนทุกคนจะต้องได้รับการเคารพ ความเป็นคนและความมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ในฐานะของความเป็นมนุษย์เหมือนกับบุคคลอื่น ๆ

ประชาธิปไตยในไทย
ที่ได้กล่าวมาว่าประชาธิปไตยที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นประชาธิไตยที่นำมาจากตะวันตกเสียแทบทั้งสิ้น หลายคนอาจคิดว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตย ทั่วโลกยกย่องว่าดีที่สุดนั้น ทำไมถึงมีปัญหากับพระพุทธศาสนาล่ะอย่างเช่น ทำไมถึงไม่บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเสียตั้งแต่คราวแรกที่ร่างรัฐธรรมนูญ หรือว่าพระพุทธศาสนาไม่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย อันที่จริงแล้วไม่ใช่
ก่อนที่จะกล่าวต่อไปขอย้อนไปที่ประวัติความเป็นมาของประชาธิปไตยเพื่อที่จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ว่าเพราะอะไร?
ในปีพ.ศ. 2429 มีเจ้านายและขุนนางรวม 11 คน ซึ่งล้วนแต่เคยออกไปศึกษาหรือมีประสบการณ์ในประเทศแถบยุโรป ได้ร่วมกันยื่นบันทึกถวายความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสำคัญ คือ มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ไทยเรามีระบอบรัฐธรรม
-นูญ และควรจะมีการปกครองโดยความรับผิดชอบรวมของคณะเสนาบดีคือ คาบิเนต
( Cabinet) ซึ่งมีเอกอัครมหาเสนาบดี ( Prime Minister) เป็นประธาน
รัชกาลที่ 5 ทรงตอบบันทึกนั้นว่า “พระองค์ไม่เคยคิดที่จะหวงแหนอำนาจไว้เลย แต่ก็ติดขัดที่สถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เหมาะสม เพราะขาดคนมีความรู้ความสามารถและความกล้าที่จะทำหน้าที่กลุ่มนิติบัญญัติเพื่อถ่วงอุงอำนาจกับอำนาจบริหารที่พระองค์ใช้อยู่”
รัชกาลที่ 5 ทรงสนับสนุนการปกครองระบอบอประชาธิปไตย ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการบริหารราชการ และการสนับสนุนการศึกษา นั่นคือสร้างระบอบภายในให้เข้มแข็งก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงภายนอก
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงก็ได้เห็นความสำคัญของประชาธิปไตย ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ ดุสิตธานี ” ขึ้น เพื่อจำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มีธรรมนูญการปกครอง, มีพรรคการเมือง 2 พรรค, มีการเลือกตั้งนัคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี (ตำแหน่งผู้ปกครอง), มีสภาการเมือง และมีการออกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอข่าว ซึ่งเป็นการพยายามที่จะปลูกฟังหรือฝึกหัดการปกครองระบบรัฐสภา ได้ทรงเคยแสดงความคิดว่า พระองค์นิยมระบบรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญ เพราะพระเสนาบดีที่ปรึกษาราชการทั้งชาวอังกฤษและอเมริกาทัดทานไว้ เนื่องจากเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา ไม่สามารถจะใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งผู้แทนราชฎรที่ดีได้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบอสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบกษัตริย์ภายใช้รัฐธรรมนูย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2475 เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์ได้ 7 ปี ก็ไม่มีกลุ่มทหารและพลเรือนซึ่งเรียกว่า “คณะราษฎร” ภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพลหพลพยุหเสนา และบุคคลสำคัญที่เป็นแกนนำ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาฤทธิ์อาคเนย์, พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม), พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ท่านปรีดี พนมยงค์) ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง โดยอัญเชิญ ร. 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ต่อมาก็ได้สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
สาเหตุที่ทำให้การปฏิวัติครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย มีดังนี้
1. สาเหตุทางเศรษฐกิจ โดยเกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนเศรษฐกิจภายในประเทศทรุดหนัก และรัฐบาลของ ร. 7 ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดทั้งที่คนส่นใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ แต่ก็ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต่อต้าน ด้วยความหวังที่จะพบกับชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเก่า
2. สาเหตุทางการเมือง โดยสามัญชนที่รับราชการมีความรู้สึกว่า
ร.7 ส่งเสริมให้พวกราชวงศ์หรือพวกเจ้าที่รับราชการผูกขาดอำนาจทางการเมือง และทรงตั้งอภิรัฐสภาที่มีพระราชวงศ์เป็นสมาชิก โดยมีอำนาจอิทธิพลเหนือกว่าเสนาบดีสภา
3. สาเหตุทางสังคม โดยพวกเจ้ามีสิทธิต่าง ๆ หลายประเทศทำการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ อันเป็นแรงกระตุ้นให้แกนนำกลุ่มผู้ก่อการมีกำลังใจที่จะดำเนินการให้สำเร็จ
หลักการสำคัญในประเทศคณะราษฎร มีดังนี้
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลายของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดยาก (เป็นข้อที่ได้รับการสนับสนุนและประชาชนพอใจมากที่สุด)
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การบริหารประเทศของ รัฐบาลและสภาผู้แทนฯ ไม่ได้เห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์อยู่ในสายตาของตนเลย การดำเนินการในเรื่องสำคัญ ๆ รัฐบาลก็ทำไปโดยไม่ปรึกษาและพอใจที่จะขัดพระราชดำริเสียทุกอย่าง
ในที่สุด ร.7 ก็ทรงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13 นาฬิกา 45 นาที สาเหตุเพราะพระองค์ไม่พอพระทัยคณะราษฎรโดยทรงเห็นว่าคณะราษฎรไม่จริงใจต่อระบอบประชาธิปไตย และอำนาจอธิปไตยก็ไม่ได้ตกถึงมือประชาชน ในขณะที่พระองค์ก็ไม่สามารถปกป้องสิทธิทางการเมืองของประชาชนได้ ทรงได้กล่าวใจความตอนหนึ่งของพระราชหัตถเลขาว่า
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไปแต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้ง
หลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน”
จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น จากการประกาศของคณะราษฎร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เสรีภาพ เสมอภาค หรือเรื่องการส่งเสริมการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่หลอกลวงประชาชนแทบทั้งสิ้น การกระทำของคณะราษฎร์จึงไม่แตกต่างจากตะวันตกที่มีแนวคิดในเรื่องการปกครองเพื่อสร้างอำนาจให้แก่ตนและพวกพ้อง สิ่งที่ตามมาก็คือ การหื่นกระหายต้องการซึ่งอำนาจ ต่างแย่งชิงกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์การปฏิวัติ,รัฐประหารทีเกิดขึ้นมีมากมายนับครั้งไม่ถ้วน อันเกิดขึ้นมาจากระบอบการปกครองที่ชื่อว่าประชาธิปไตยนี้เอง ซึ่งมีดังนี้คือ
สมัยคณะราษฎร (มิถุนายน 2475 - พฤศจิกายน 2490)
ได้มีรัฐประหาร 1 ครั้ง คือ รัฐประหาร 21 มิถุนายน พ.ศ.2476 และมีกบฏ 3 ครั้ง คือ กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 , กบฏนายสิบ สิงหาคม พ.ศ.2478 , กบฏ 18 ศพ มกราคม พ.ศ. 2481
สมัยคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 (พฤศจิกายน พ.ศ.2490 – กันยายน พ.ศ.2500) มีรัฐประหาร 1 ครั้ง คือ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2492 และมีกบฎ 3 ครั้ง คือ กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม พ.ศ.2491, กบฏวังหลวง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492, กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน พ.ศ.2494
สมัยคณะปฏิวัติพ.ศ. 2500 (กันยายน พ.ศ.2500 – ตุลาคม พ.ศ.2516) มีรัฐประหาร 2 ครั้ง คือ ปฏิวัติ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
สมัยคณะปฏิรูปฯพ.ศ 2519 (ตุลาคม พ.ศ2519 – กรกฎาคม พ.ศ2531) มีรัฐประหาร 1 ครั้งคือ ปฏิวัติ 20 ตุลาคม พ.ศ2520 และมีกบฏ 3 ครั้ง คือ กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ2520, กบฏยังเตอร์ก 1 เมษายน พ.ศ2524, กบฏทหารนอกราชการ 9 กันยายน พ.ศ2528
การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เรียกว่า ระบอบอำนาตยาธิปไตย ( Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ข้าราชการเป็นใหญ่ทั้งนี้เพราะชนชั้นข้าราชการมีอำนาจมากที่สุดของ “ทหารเป็นกลุ่มที่เข้าครอบงำการเมืองไทยมาโดยตลอด ”ทุกยุคสมัย
สรุป

ได้ว่าประชาธิปไตยที่เรามีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เรามีเพียงเฉพาะรูปแบบเท่านั้น นั่นก็คือ เราเน้นแค่เพียงรูปแบบให้เป็นประชาธิปไตย แต่เราไม่ได้เน้นถึงสาระแก่นแท้ภายในให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้กิดขึ้นตามไปด้วย จะเห็นว่า รัชกาลที่ 5 ทรงรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นที่นิยมยอมรับทั่วโลก แต่จะทำอย่างไร? ในเมื่อคนภายในประเทศยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทรงพยายามพัฒนาศักยภาพภายในมนุษย์ให้ดีขึ้น อย่างเช่น เลิกทาส พัฒนาการศึกษา เป็นต้น รัชกาลที่6และรัชกาลที่7 ก็เช่นเดียวกัน คือพยายามพัฒนาภายในอันได้แก่สาระแก่นสาร แต่เมื่อความกระเหี้ยนกระหือรือของคณะราษฎร์ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผลก็คือ การปกครองนั้นมันเปลี่ยนแปลงเฉพาะเปลือก ในลักษณะเหล่าเก่าในขวดใหม่ ผลกระทบที่ติดตามมา การปฏิวัติ รัฐประหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ ในลักษณะคนตายอดตายอยาก ผลร้ายจึงตกอยู่กับประชาชนคนตาดำ ๆ ผู้ปกครองไทยใช้เวลาในการแย่งชิงอำนาจ เล่นเกมส์ทางการเมืองมากกว่าที่จะใช้เวลาบริหารประเทศอย่างจริงจัง ทำให้ประเทศไทยล้าหลังเรื่องการพัฒนา ยิ่งพัฒนาไปเท่าไหร่ยิ่งถอยหลัง หรืออยู่กับที่ จะเดินไปข้างหน้านั้นมันค่อนข้างยากลำบาก เมื่อเข้าสู่ทางตันในการบริหาร จึงหันไปพึ่งพาความคิดของตะวันตกอีก แนวความคิดทางตะวันตกก็ทับถมความคิดของคนไทยครั้งแล้วครั้งเล่า ความเป็นไทยก็เริ่มถูกลืมเลือนไปทีละนิด ๆ จนแทบจะไม่มีอะไรเป็นไทย พอจะคิดอะไรสักอย่างต้องชะโงกหัวไปดูตะวันตกว่าเขาคิดอย่างไร?
เพราะฉะนั้นเมืองไทยจึงมีประชาธิปไตยเพียงเฉพาะแค่รูปแบบ มีประชาธิปไตยที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน คือหาประโยชน์จากประชาธิปไตยไม่ได้นั่นเอง!
คนไทยคลั่งประชาธิปไตย แต่ ลืมธรรมาธิปไตย
จะเห็นได้ว่า ประชาธิปไตย ก็คือรูปแบบการปกครองๆ หนึ่ง สังคมนิยมก็คือรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมนุษย์คิดขึ้นมา แต่น่าแปลกว่าวันนี้ก็ยังมีมนุษย์ถกเถียงกันกันในสิ่งที่มนุษย์คิดมาเอง ว่าประชาธิปไตยมีไหม? ถ้าดีถึงมีไปแล้ว ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆในสังคมทำไมถึงเกิดขึ้นแทบทุกวัน นับวันมันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าคนไทยได้ละเลยลืมทิ้งคุณค่าความดีงามในพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ ธรรมมาธิปไตยนั่นเอง
ได้มีการออกมาเรียกร้องในเรื่องการบริหารให้เป็นไปในแนวทางที่โปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า good governance หรือธรรมาภิบาลนั่นเอง ในยุคที่เมืองไทยมีเศรษฐกิจที่ฟองสบู่มันแตกกระจาย
ในความหมายที่ลักษณะเดียวกันเช่นนี้ สังคมไทยก็ยังมีความต้องการในเรื่อง ศีลธรรม ความดี ให้อยู่เคียงข้างคู่สังคม แต่การกระทำของคนไทยกลับละเลยมองข้ามศีลธรรม ความดี โดยสิ้นเชิง เช่นมองว่าเป็นเรื่องโบราณ เป็นเรื่องความเชื่อของคนแต่ละคน ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในสังคมไทยได้เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้สังคมไทยยิ่งตกต่ำ ในขณะที่ตะวันตกเริ่มให้การยอมรับพระพุทธศาสนา มีการศึกษาและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่คนไทยกลับละเลยสิ่งดีงามเหล่านี้เสีย และหันไปรับฟังแนวคิดทางตะวันตกแบบเก่าที่เป็นแนวความคิดแบบเศษขยะที่เขาไม่เอาทิ้งแล้ว เราก็ไปรับเอาเดนของเขามาอีกทีหนึ่ง ซึ่งความคิดแบบเชิงวัตถุนิยมนี้ มันฝังกระบาลคนไทย จนทำให้ก่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ เรียกว่า วัฒนธรรมกลายพันธุ์จนเสียแทบหมดสิ้น
ดังนั้นคนไทยทุกคนจำเป็นต้องตระหนักเรื่องนี้ให้มาก ว่าเราจะเป็นไทยแท้ หรือไทยกลายพันธุ์ ที่เป็นไทยแค่ตัวแต่หัวไม่ใช่ ถ้าคนไทยไม่หันกลับมามองความเป็นไทยดั้งเดิมที่ดีงามแล้ว ไม่นาน ความเป็นไทยก็จะถูกลบเลือน ศาสนาก็จะสูญสิ้น ประเทศชาติก็จะลมสลายไปในที่สุด

ทำไมถึงไม่บัญญัติ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในครั้งแรก
ที่ร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า คณะราษฎร์ที่เข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น มิได้มีเจตนาที่จะตั้งใจเข้ามาบริหารประเทศไทยให้ไปสู่ในทางที่เจริญขึ้น แต่มีเจตนาที่จะเข้ามาเพียงเพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ให้แก่ตนและพวกพ้องเพียงเท่านั้นตามแนวคิดและคำสอนทางตะวันตก อย่างเช่น แมเคียเวลี ได้สอนไว้มีใจความว่า ผู้ปกครอง ไม่ควรจะเลี่ยงจากการกระทำดีหากเป็นไปได้ แต่เขาก็จะต้องรู้วิธีทำความชั่วร้ายถ้าจำเป็น ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องรักษาคำพูดของตนเขาเขียนว่า ถ้าทุกคนเป็นคนดี คำสอนนี้ก็จะใช้ไม่ได้แต่นี่เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สกปรกที่ไม่รู้จักคำพูดของตนท่าน(ผู้ปกครอง) ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาคำพูดของท่านต่อพวกเขา ถ้าผู้ปกครองเป็นคนดีมีเมตตาเขาก็จะถูกทำลาย[9]
จะเห็นได้ว่าแนวคิดทางปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ทางตะวันตกนั้นไม่แตกต่างจากความคิดของคณะราษฎร์สักเท่าไหร่ ตรงจุดนี้เองทำให้พระพุทธศาสนาถูกละเลย ไม่ได้รับความใส่ใจที่จะอุปภัมภ์ทะนุบำรุงพระศาสนา หลายคนอาจคิดว่า แค่เพียงเฉพาะเรื่องเงินทองหรือปัจจัยสี่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถูกละเลยเพิกเฉยแทบทุก ๆ เรื่องซึ่งพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.ละเลยจากหลักธรรม ผู้เข้ามาปกครองในระบอบประชาธิปไตยทุกยุคสมัย น้อยคนนักที่จะเข้าถึงศาสนา ส่วนใหญ่จะไม่สนใจในหลักธรรมมะ สนใจแต่เรื่องการเมือง อำนาจ การแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพรรคพวกตัวเองเท่านั้น ทำให้คนที่เข้าไปบริหารประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้ได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศแทบทั้งนั้น แต่ความรู้ทางธรรมไม่มี สรุปก็คือมีความรู้แต่ไม่มีคุณธรรมทำให้บริหารประเทศมีแต่โกงกิน ฉ้อราษบังหลวง คอร์รับชั่น มากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในลักษณะใดก็ตามก็ไม่สามารถที่จะได้คนดีขึ้นไปบริหารประเทศได้เพราะว่าจิตใจของคนที่มีอำนาจนั้นมุ่งสนใจเฉพาะแค่วัตถุเป็นหลัก หัวใจที่จะซึมซับธรรม คุณงามความดี ศีลธรรม นั้นไม่มีเอาเสียเลย ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อนและล้าหลังจนถึงทุกวันนี้ และสิ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ พระพุทธศาสนา ที่ผู้มีอำนาจพยายามที่จะแยกออกจากการเมือง การปกครอง ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ในแดนสนทยาเสีย คืออยู่ในสภาวอึมครึม จะสนับสนุนก็ไม่ใช่ จะปฏิเสธก็ไม่เชิง ทำตนเองให้คนอื่นเขามองว่าเป็นตนดี ในลักษณะมือถือสากปากถือศีล เช่นนี้เป็นต้น จึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นนักการเมืองไทยเล่นละครตบตาประชาชนอยู่บ่อย ๆ โดยมักจะกล่าวว่า ผมเป็นชาวพุทธ พระพุทธศาสนาอยู่ที่ในจิตใจในลักษณะนี้เป็นต้น
คำว่าพระพุทธศาสนาอยู่ที่จิตใจนั้น ถ้ามองวิเคราะห์คำนี้ให้ลึกซึ้งจะเห็นได้ว่าคำว่าอยู่ในใจนั้นมีความหมายว่าอยู่แค่ในเพียงความคิด แต่ไม่ได้ซึมซาบเข้าไปในใจเหมือนกับคนในสมัยก่อนที่เขารับเอาศาสนาเขาไปในจิตวิญญาณและแสดง พูด กระทำออกมาเป็นวิถีชีวิต เหมือนอย่างคนอินเดียที่รับเอาศาสนาไปเป็นปรัชญาชีวิต คือเป็นชีวิตจิตใจของเขา ถ้าหากมีวัฒนธรรมแปลกปลอมใด ๆ เข้ามาทำลายสังคมของเขา ๆ จะออกมาต่อต้านทันที อย่างเช่น วัฒนธรรมวาเลนไทน์ ที่เข้าไปในอินเดียทำให้คนอินเดียสำส่อนทางเพศ เช่นนี้เขาออกมาต่อต้านทันที
เมื่อหันมามองดูคนไทยรู้สึกสลดหดหู่จิตใจเพราะว่า “พระพุทธศาสนาอยู่ในใจ”ในความคิดเท่านั้น มิได้นำมาปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้มีผลระยะต่อแนวความคิด นิสัยใจคอ ทำให้คนไทยกลายเป็นคนทำอะไรไม่จริงจัง เมื่อไม่มีความมั่นคงในศาสนาที่ตนนับถือเสียแล้ว คนไทยจึงกลายเป็นคนที่อ่อนแอทางด้านความคิดโดยปริยาย มีนิสัย อะไรก็ได้ ผักชีโรย ทำดีได้ดีมีที่ไหน? ความชั่วได้ดีมีถมไป เป็นต้น
ถ้าสอบถามกันจริง ๆ คนไทยที่อ้างตนว่าเป็นชาวพุทธนั้น จิตและรากเหง้าของวิญญาณเขาเป็นพุทธหรือไม่ ตอบว่า ไม่ใช่เลย แทบจะไม่มีความเป็นพุทธหลงเหลือเลย บางคนยังไม่รู้ว่า พระรัตนตรัยคืออะไร พระพุทธเจ้าคือใคร ธรรมมะในพระพุทธศาสนามีอะไรบ้างที่เป็นหลักการสำคัญ ๆ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะไม่รู้เสียเลย ถ้าเปรียบเทียบกับศาสนิกในศาสนาอื่นเช่นคริสต์ อิสลามเป็นต้น เขาถือเรื่องศาสนาเป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อมีเหตุการณ์ทางพระศาสนา พุทธศาสนิกชนจึงนอนหลับไม่รับรู้อะไรนอกจากความสุขของตนเอง เช่นนี้จะมิให้พระพุทธศาสนาสั่นคลอนได้อย่างไร?
2.บทบาทพระสงฆ์ในสังคม จะเห็นได้ว่าพระสงฆ์นี้มีหน้าที่สืบทอดพระศาสนาโดยตรง เพราะมีหน้าที่ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติ และสั่งสอนประชาชนญาติโยมพุทธบริษัท พระสงฆ์ตั้งแต่ในอดีตได้รับการเครพนับถือจากประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันบทบาทของพระสงฆ์ตกต่ำลงเป็นอย่างมาก บทบาทของพระสงฆ์มีผู้ที่พยายามลดบทบาทลง และสนับสนุนให้นักบวชในศาสนาอื่นให้มาเทียบเท่ากับพระสงฆ์ ถ้าหากนักบวชเหล่านั้นมีความประพฤติที่ใกล้เคียงกับพระก็ยังพอที่จะรับฟังได้ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น นักบวชศาสนาคริสตร์นั้นสามารถมีลูกเมียได้บางนิกาย และพยายามยกตนโดยให้เรียกว่า หลวงพ่อ อย่างนี้เป็นต้น หรือศาสนาอิสลามซึ่งถือว่าไม่มีนักบวชก็พยายามยกตัวให้เป็นนักบวชเช่นเดียวกับพระสงฆ์เราเช่นเดียวกัน อย่างนี้ไม่ถูกต้อง แต่ภาครัฐซึ่งได้รับอำนาจจากพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ในอดีตกลับละเลยเพิกเฉยทำให้ศาสนาพุทธถูกย่ำยีครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างเช่น สื่อสารมวลชนที่เข้ามาทำลายพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะโทรทัศน์บางช่อง หรือหนังสือพิมพ์ซึ่งบางฉบับเจ้าของนับถือศาสนาอื่น ๆ พวกนี้เองที่เข้ามาทำลายบทบาทพระสงฆ์ อยู่ทุกวัน ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พยายามเอาเรื่องพระบางคนที่ไม่ดีขึ้นหน้าหนึ่งในช่วงที่งานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น มาฆะบูชา วิสาขะบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น ในลักษณะเช่นนี้พระพุทธศาสนาจะไม่สั่นคลอนได้อย่างไร? ถ้าถามว่าทำไมไม่มีชาวพุทธออกมาปกป้องบ้างล่ะ? คำตอบก็คือส่วนใหญ่ถูกมอมเมาจากผู้ปกครองประเทศจนจิตใจแทบจะเป็นคนไร้ศาสนาอยู่แล้ว กล่าวง่าย ๆ ว่าตนเองก็ยังจะไม่รอดแล้วจะมาช่วยเหลือศาสนาอย่างไร?
ดังนั้นเมื่อบทบาทพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้รักษาพระศาสนาโดยตรงถูกลดบทบาทลงเสียแล้ว พระสงฆ์จะทำอย่างไร?ได้ เพราะอันที่จริงแล้วพระสงฆ์มีหน้าที่และบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจโดยตรง เป็นผู้ต้องสั่งสอนเรื่องศีลธรรมเป็นหลัก แต่ไม่ได้กระทำหน้าที่ ถูกกักบทบาทให้เป็นผู้มีหน้าที่ สวด เสก ฉัน นอน เฝ้าวัด เลื้ยงหมา แมวเช่นนี้เป็นต้น ปัญหาศีลธรรมจึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด เมื่อทางโลกแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วจึงโยนให้วัด ๆ มักจะได้รับแต่สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เน่าเสียอยู่เสมอ คนดีไม่ยอมเข้าวัด ส่วนเข้าวัดมักจะเป็นคนบ้า สติไม่ดี เป็นโรคเอดส์เช่นนี้เป็นต้น แล้วศาสนาจะเจริญได้อย่างไร ?
เรื่องความดีความชั่วจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กจนกลายเป็นนิสัยและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดี มิใช่ปล่อยปละละเลยเหมือนเช่นทุกวันนี้ เด็กทุก ๆ วันนี้จึงไม่ได้ผูกพันธ์กับศาสนา แต่ผูกพันธ์อยู่กับร้านเกมส์ ห้างสรรพสินค้า สื่อลามกอนาจาร อย่างนี้แล้วจะเรียกร้องศีลธรรมกันอย่างไร? ไม่ทางเป็นไปได้เด็ดขาด
พระสงฆ์ท่านรู้เรื่องนี้ดี ถึงภัยอันตรายที่มาจากวัฒนธรรมทางตะวันตกว่ามันทำลายเด็กไทยมากมายขนาดไหน จากเด็กไทยที่เป็นคนเรียบร้อย สุภาพ อ่อนโยนในอดีต กลายเป็นเด็กที่ รุนแรง หื่นกาม กระล่อน ปลิ้นปล้อน ฯลฯ พระสงฆ์ท่านจึงพยายามศึกษาเล่าเรียนให้มากเพื่อนำเอาความรู้เหล่านี้ไปสั่งสอนญาติ จะเห็นได้ว่าวงการพระสงฆ์พยามยามที่จะพัฒนาขึ้นมากเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างเช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนให้ความรู้พระทั้งทางโลกและทางธรรมในระดับชั้น ปริญญาตรี โท เอก เพื่อให้ทัดเทียมเท่าทันต่อโลก และพระสงฆ์เหล่านี้ได้เข้าพัฒนาสังคมทั้งในเมืองและชนบทอยู่มิใช่น้อย แต่การหลั่งไหลของวัฒนธรรมตะวันตกอันสกปรกที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้มันรุนแรงมากลำพังพระสงฆ์เพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจของประชาชนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาภาครัฐแทนที่จะได้รับการสนับสนุนผลกลับตรงกันข้าม ละเลย เพิกเฉยไม่พอกลับปฏิเสธคัดค้านเสียอีก อย่างเช่น กรณีย์ ธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสงฆ์เห็นว่าพระพุทธศาสนาควรที่จะการจัดการที่มีระเบียบกฎเกณฑ์มากขึ้น เพราะเงินที่อยู่ในวงการพระพุทธศาสนานั้นกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบถ้ามีการนำเข้าไว้เป็นหมวด การจัดการบริหารงานทางด้านพระพุทธศาสนาในอนาคตก็จะเป็นไปได้ด้วยความสะดวกและพัฒนายิ่งขึ้น แต่นักการเมืองไทยที่อ้างตัวเองว่าเป็นชาวพุทธกลับยกมือคัดค้านอย่างหัวชนฝา แต่ไปสนับสนุนธนาคารอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาอื่นแท้
กรณีย์เช่นนี้จะกล่าวว่าเมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนาได้อย่างไร? ในเมื่อคนไทย นักการเมืองไทยกลับไม่เห็นคุณค่าของศาสนาประจำชาติไทย ไม่ส่งเสริมไม่ว่ากลับทำลายกันเอง
พระเจ้าพระสงฆ์และพุทธบริษัทที่เป็นสัมมาทิฐิ จึงเห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาอยู่ในสภาพที่สั่นคลอนอย่างหนัก ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ การเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยจึงเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุด
เพราะว่าการบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ศาสนาอิสลามได้รับงบประมาณไปทำพิธีที่เมกกะปีละ 180 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน หรือได้รับงบประมาณสร้างมัสยิด นี่ก็เป็นเพราะผลของการบัญญัต พรบ.อิสลาม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราจะละเลยไม่ได้จำเป็นต้องออกมาสนับสนุน

พระออกมาเรียกร้องผิดหรือไม่
เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ถ้าเป็นในสมัยก่อนพระออกมาเรียกร้องถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด เพราะว่าพระจำเป็นต้องสำรวมอยู่ในความสงบ เพราะสมัยก่อนอำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์และพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว และพระมหากษัตริย์ก็ศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา ทรงเป็นพุทธมามกะ เคร่งครัดในพระศาสนา เมื่อเกิดปัญหาขึ้น พระองค์ก็ทรงจัดการปัญหานั้นเสีย ความเดือดร้อนแก่พระศาสนานั้นจึงไม่ค่อยจะมี
แต่ปัจจุบันอำนาจการปกครองประเทศมิได้อยู่ที่พระมหากษัตริย์ อยู่ที่ประชาชนซึ่งจิตใจของประชาชนส่วนใหญ่ก็อ่อนแอทางด้านศีลธรรมอยู่แล้วเมื่อเข้ามาปกครองประเทศแทนที่จะสร้างความเข้มแข็งกลับสร้างความอ่อนแอทางด้านจิตใจให้กับประชนหนักขึ้นไปอีก เพราะว่าตนเองก็อ่อนแออยู่แล้วจึงไม่มีปัญญาจะไม่พัฒนาคนอื่น สิ่งที่ทำง่ายที่สุดก็คือ การมอมเมาประชาชน จนถึงเด็กและเยาชน ให้ลุ่มหลงมัวเมา จะได้ไม่มีเวลามาสนใจพฤติกรรมตน
ผู้ที่เข้ามาปกครองประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ มีความคิด และพฤติกรรม แตกต่างจากผู้บริหารประเทศในสมัยก่อนคือกษัตริย์โดยสิ้นเชิง อย่างเช่น พระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงเป็นกษัตรย์ที่ทรงเอาพระทัยใส่พระศาสนาเท่าที่โอกาสจะอำนวย คราใดที่องค์ทรงมีเวลาว่า ครานั้นพระองค์จะต้องจับงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทันที ทรงมีพระราชดำรัสที่ไพเราะน่าจับใจตอนหนึ่งว่า
“ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมีศีลคุณบริบูรณ์ในพระพุทธศาสนาแล้ว แม้นจะปรารถนามังสะ (เนื้อ) รุธิระ(เลือด) โยมก็อาจสามารถจะเชือดเนื้อแลโลหิตออกมาบำเพ็ญทานได้”
จะเห็นได้ว่ากษัตย์ส่วนใหญ่ล้วนมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาและประชาชนเป็นอย่างยิ่งทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ทรงรักประชาชนเหมือนลูก แม้ว่าทรงจะสละพระชนชีพเพื่อปกป้องประเทศเพื่อให้ลูกของพระองค์ปลอดภัยก็ทรงทำได้ อย่างเช่นพระสุริโยทัยเป็นต้น
แต่นักการเมืองมิได้เสียสละตนทำงานทุ่มเทเพื่อประชาชน เหมือนพระมหากษัตริย์ในอดีตเช่นนั้น การปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยไทยในปัจจุบัน จึงมีลักษณะไม่แตกอะไรไปจากการเล่นขายของ ก็ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจ เล่นละครตบตาชาวบ้านไปวัน พอถูกจับได้ก็บอกว่า ผิดพลาดโดยสุจริต เป็นต้น อย่างนี้นักแสดงฮอลลีวูด หรือนักแสดงที่ได้รับรางวัลออสการ์จากอเมริกาถ้าเทียบกับการแสดงละครรัฐสภาของนักการเมืองไทยแล้วห่างชั้นกันมาก ของไทยเล่นละครได้เก่งกว่า คือตบตาคนทั้งประเทศให้เชื่อ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะให้ พระเจ้าพระสงฆ์พุทธบริษัทที่เป็นสัมมาทิฐินิ่งนอนใจอยู่ได้อย่างไร?กับเหตุการณ์บ้านเมืองที่ไม่ปกติ
!หรือจะให้พระนอนดู ความฉิบหาย ความล่มสลายของพระพุทธศาสนาให้ย่อยยับไปต่อหน้าต่อตาหรือ? พระเจ้าพระสงฆ์ท่านคงจะทำไม่ได้
และระบอบปกครองของไทยในปัจจุบันนี้เป็นระบอบประชาธิปไตย คือใครดีใครได้ มือใครยาวก็สาวได้ไว ใครมีสายป่านดีกว่าก็ได้เปรียบ นั่นก็คือ ใครเรียกร้องได้มากก็มีโอกาสได้เปรียบ มีโอกาสดีกว่า ยิ่งเรียกร้องมากยิ่งได้มาก ในเมื่อสังคมเป็นเช่นนี้ พระจำเป็นต้องเรียกร้องจะปล่อยให้พุทธศาสนาฉิบหายไปต่อหน้าต่อตาไม่ได้หรอก
หรือจะปล่อยให้ประเทศไทยเปลี่ยนไปเป็นมีศาสนาอื่นเป็นศาสนาอื่นเป็นศาสนาประจำชาติ รับรองได้ว่าเมืองไทยคงต้องมีสงครามศาสนาบ้า ๆบอ ๆ เหมือนบางประเทศที่รบฆ่ากันเพราะมีความเชื่อที่แตกต่างกันพวกนี้ช่างปัญญาอ่อนเสียจริง ๆ เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ประเทศจึงสงบสุขร่มเย็นมาตั้งแต่ในอดีต แต่พอมาถึงปัจจุบันเรารับเอาศาสนาบ้า ๆ บอ ๆ เข้ามาเมืองไทยจึงเกิดปัญหามากมาย เช่นการก่อการร้าย วางระเบิดเป็นต้น นี่ไม่ใช่มาจากศาสนาพุทธเลย แล้วทำไมเราถึงรังเกียจพระพุทธศาสนาเสียเหลือเกินที่จะให้เป็นศาสนาประจำชาติ
ลองสังเกตดูได้ถ้าว่าไม่ได้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติต่อไปเมืองไทยจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้พระพุทธศาสนาพุทธมีภัยศาสนารอบด้านมากมายนับไม่ถ้วน ถ้าไม่เชิดชูบัญญัติเอาไว้ต่อไปเมืองไทยจะหลงเหลืออะไร ศาสนาประจำชาติก็ไม่ได้ พระมหากษัตริย์ไทยก็ไม่ใช่พุทธมามกะเสียอีก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างปัจจุบันก็มาตัดไปเสียอีกแล้วอย่างนี้อนาคตชาติไทยจะเป็นอย่างไรหนอ?
ภัยภายนอกพระพุทธศาสนา
1.ภัยจากนักการเมืองนอกศาสนาที่เข้ามาเล่นการเมือง เพื่อศาสนาตน อย่างเช่น การเข้าไปเป็นนักการเมืองแล้วมาบั่นทอนทำลายพระพุทธศาสนา อย่างเช่นนักการเมืองศาสนาอื่นบางคน มาเป็นประธานรัฐสภา ก็ยกพระพุทธรูปทองคำเอาไปเก็บไว้ไม่ให้มีในรัฐสภา มาเป็นรับมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็สั่งย้ายพระพุทธรูปออกจากห้องทำงาน หรือมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศก็เช่นเดียวกันพระพุทธรูปก็ถูกย้ายออกไป ป้อมยามตำรวจก็สั่งห้ามมีพระพุทธรูป กรณีย์เช่นนี้เป็นต้น
2.ภัยจากการเรียกร้องของศาสนาอื่น ที่เรียกร้องอะไรได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย รวมทั้งเรื่องต่าง ๆ มากมายจิปาถะเป็นต้น
3.ภัยจากกฎหมายที่เข้ามาทำลายศาสนา อย่างเช่น กฎหมายปฏิรูปที่ดินโกงกินที่วัด ที่ให้สิทธิ์นักการเมืองสามารถเวียนคืนที่ดินวัดได้อย่างอิสระเสรี กฎหมายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นต้น
4.ภัยจากกฎหมายของศาสนาอื่น ที่เขาได้มีกฎหมายสำหรับศาสนาเขามากมาย ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อศาสนาของเขาและทำลายพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณเขาก็ได้รับมากกว่า การสร้างศาสนสถานของพวกเขาก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด กรณีย์เช่นนี้บั่นทอนทำลายพระพุทธศาสนาอย่างเห็นได้ชัด
รัฐกับศาสนาควรจะแยกจากกันหรือไม่
จะเห็นได้ว่าปัญหาระหว่างเรื่องรัฐกับพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแตในอดีตนั้นสังคมไทยยังไม่เคยมีความขัดแย้งทางศาสนาเกิดเป็นปัญหาในระดับใหญ่อย่างในยุโรป
ที่เป็นแนวทางผลักดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแบ่งแยกออกจากกัน
ปัญหาการเกิดสงครามระหว่างรัฐต่างๆ ในยุโรปนั้นโดยมีศาสนาเข้าไปมีส่วนพัวพัน เห็นได้ชัดอย่างเช่นในเยอรมนี เมื่อรัฐต่างๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก กับรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ทำสงครามกันไปกันมากว่า 30 ปี พวกสแกนดิเนเวียก็เข้าช่วยเหลือรัฐที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ พวกสเปน ฝรั่งเศสและ โปรตุเกสก็เข้าช่วยเหลือพวกที่นับถือนิกายคาทอลิก ซี่งผลสรุป หาผู้ที่แพ้หรือชนะไม่ได้ และผลก็คือ การล้มตายของประชาชนหลายสิบล้านคน
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2191 ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) คือการยอมรับอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนซึ่งกันและกันทั่วทั้งยุโรป ทุกรัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนและมีอำนาจเหนือประชาชนของตนอย่างสมบูรณ์ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
รัฐอธิปไตยมีอำนาจเด็ดขาดในการที่จะปฏิบัติต่อประชาชนของตน ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าเชื้อชาติใด ภาษาใด ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่ "รัฐ" หรือ องค์อธิปัตย์เป็นผู้กำหนด แม้แต่การนับถือลัทธิศาสนา ดังภาษิตกฎหมายระหว่างประเทศสมัยนั้น ภาษาลาตินว่า "cyjus regio ejus religio" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ศาสนาในรัฐใดก็เป็นของรัฐนั้น" ประชาชนที่อยู่ในรัฐที่ถือศาสนาใดต้องนับถือศาสนานั้น หรือผู้ปกครองถือศาสนาใด ประชาชนก็ต้องถือศาสนานั้น เพราะผู้ปกครองคือ "รัฐ"นั่นเอง!
เราจะมองเห็นได้ชัดเจนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในอดีตของคริสต์ศาสนาที่เป็นตัวต้นเหตุจุดฉนวนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐต่อรัฐจึงเป็นที่มาของสงครามและมีผู้คนล้มตายเป็นอันมาก หรืออย่างเช่น สงครามครูเสดที่ผู้ที่จุดฉนวนและมีบทบาทก่อให้เกิดสงครามระหว่างศาสนาคริสตร์และอิสลามก็มาจากนักบวช(บาทหลวง) ทำให้ศาสนาถูกมองข้ามหรือละเลยจากรัฐหรือผู้ปกครองไป รัฐ กับ ศาสนา ในทวีปยุโรปจึงต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
แต่เมื่อเราหันมามองดูสังคมไทยเราจะเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน จากประวัติการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ทั้ง 5สาย ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย รับทั้งพระพุทธศาสนาเป็นแบบเถรวาท และมหายาน ผสมด้วยพราหมณ์ แต่ไม่เคยมีปัญหาหรือประเด็นขัดแย้งใด ๆในเรื่องศาสนา เพราะเหตุที่ว่า พระพุทธศาสนานั้น หมายถึงธรรมชาติ ที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติแล้วสามารถอยู่ร่วมกับสังคมหรืออยู่ร่วมกับมนุษย์คนอื่น ๆ ได้ ปัญหาเกี่ยวกับศาสนาจึงไม่เกิด การที่หลายฝ่ายบอกว่า พระพุทธศาสนาควรอยู่ในศาสนาไม่ควรมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ประเด็นนี้จึงเห็นว่าไม่สมควรที่จะถูกต้องสักเท่าไหร่?
เพราะฉะนั้น การออกกฎหมายใด ๆ ที่ไม่คำนึงถึงพระพุทธศาสนานั้นจึงไม่ควรที่จะกระทำ ถ้าจะเปรียบเทียบดูกันทุก ๆ ศาสนาแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าพระพุทธศาสนานั้นค่อนข้างที่แสนจะเรียบง่ายที่สุด พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่สอนเรื่องตนเองเป็นหลัก คือให้ปฏิบัติและมองตน แก้ไขที่ตนปรับปรุงที่ตน มิใช่มุ่งไปแก้ไขบุคคลอื่น หรือภายนอกตัวเรา ถ้าเรามุ่งไปแก้ไขที่ภายนอกตัวปัญหาต่างก็จะตามมาอย่างไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ ที่เขามีรูปแบบพฤติกรรมที่เป็นปัจเจกส่วนตัวในศาสนาของเขา จะกินอันนี้ก็ไม่ได้ หรือจะต้องเป็นเช่นนี้เป็นต้น
ผลกระทบจากการเมืองที่มีต่อคนไทย
ที่กล่าวมานี้พอสรุปได้ว่า เรานำเอาความคิดทางตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทย ซึ่งความคิดบางอย่างไม่สอดคล้องเหมาะสมกับสังคมไทยทำให้เกิดเหตุการณ์เดือดร้อนต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างไม่จบสิ้น
แนวคิดทางตะวันตกเน้นวัตถุเป็นหลัก ทำให้เขาคิด ทำพูด เขาทำ จึงเป็นเรื่องของวัตถุ โดยใช้วัตถุเป็นเครื่องมือของเหตุผล คือพิสูจน์ได้ ทดสอบได้นั่นคือเหตุผล โดยไม่มองคุณค่าทางด้านจิตใจ
จะเห็นได้จากแนวคิดปรัชญาทางการเมือง ซึ่งในสมัยตั้งแต่ยุคกรีกมา จะมีแนวคิดในเรื่องการเมืองควรจะต้องควบคู่กับคุณธรรม แต่ยุคสมัยต่อมา แนวคิดทางด้านการเมืองนั้นได้เปลี่ยนไป คือ เน้นอำนาจทางการเมือง ทางวัตถุมากขึ้น ทำให้ศีลธรรมจึงถูกแยกออกไปในที่สุด เมื่อไม่มีศีลธรรม ความวุ่นวายเดือดร้อนจึงเกิดขึ้น เมื่อเรารับเอาแนวความคิดมาก็เหมือนกับรับเอาเผือกร้อนทางความคิดมาเช่นกัน และมันสร้างผลเผ็ดร้อนให้แก่สังคมเช่นเดียวกันอีก

ผลเสียประชาธิปไตยที่มีต่อคนไทย
ที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เรารับเอาประชาธิปไตยตามแนวคิดตะวันตกมาเมื่อรับเข้ามาแล้ว มิได้รับเข้ามาสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ พระศาสนา แต่กลับนำเอาแนวคิดตะวันตกมาสร้างผลประโยชน์ให้แก่ตนและพวกพ้อง ทำให้ประชาธิปไตยของเราไทยเรามีเฉพาะรูปแบบแต่ไร้สาระที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ประชาธิปไตยจึงกลายเป็นแค่คำกล่าวอ้าง หรือเป็นเพียงแนวคิดทฤษฎีหรูเพียงเท่านั้น มิได้นำมาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ประชาธิปไตยในปัจจุบันจึงกลายเป็นประชาธิปไตยหลุดโลก เสรีเราก็เสรีจนหลุดโลกเช่นเดียวกัน เราพูดถึงสิทธิมนุษยชนเราก็นำมันมาใช้เกินขอบเขต สมัยก่อนหญิงเป็นผู้ที่รักตัวสงวนตัว แต่พอประชาธิปไตยไทยเฟื่องฟู จากรักตัวสงวนตัว ก็เริ่มเจ้าชู้ จากเจ้าชู้ ก็เริ่มสำส่อน จากสำส่อนก็มั่ว จนไปถึงมีอะไรกับใคร ๆก็ได้ พฤติกรรมเช่นนี้ไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์เดรัจฉาน สัตว์ยังมีฤดูกาล แต่คนพวกคนไทยเหล่านี้ไม่มีฤดูกาล...น่ากลัวที่สุด และที่น่าสลดใจมากที่สุดก็คืออย่างเช่นข่าว
ตะลึง!เด็กอนุบาลร่วมเรียงคิวดญ.8ขวบ แม่สุดทน!แจ้งปดส.ดำเนินคดี
สลดด.ญ.8ขวบโดนเพื่อนที่ร.ร.เดียวกันล่วงละเมิดทางเพศ เผยแม่น.ร.ชั้นป.2 โรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่งในอ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี พาลูกสาววัย 8 ขวบ เข้าแจ้งความตำรวจปดส. ขอความเป็นธรรมกรณีลูกสาวโดนเพื่อน-น.ร.รุ่นพี่-รุ่นน้องโรงเรียนเดียวกันล่อลวงไปข่มขืน จนโดนเพื่อนๆ ห้องเดียวกันล้อ จึงสอบเค้นหาความจริง กระทั่งลูกสาวเล่าให้ฟังอย่างละเอียด เมื่อไปแจ้งความตร.พื้นที่กลับไม่ดำเนินการ จึงบุกแจ้งความที่ปดส. แฉโดนกดดันที่ผู้ปกครองน.ร.ชายด่าทอ จนไม่กล้าอยู่ในพื้นที่ ทั้งๆ ที่ฝ่ายตัวเองโดนกระทำ[10]
สลด ป.6ข่มขืน เด็กหญิง นร.อนุบาล
ดูหนังโป๊ยุ่นนแล้วมีอารมณ์ พาขยี้บ้านร้าง

สังคมเสื่อมหนักเด็กชาย 13 ปี ยังเรียนอยู่ชั้นประถมหนีเรียนไปดูหนังโป๊ญี่ปุ่นพร้อมเพื่อน ระหว่างเดินกลับจะเข้าโรงเรียนเห็นเด็กอนุบาลรุ่นน้องเข้าห้องน้ำทำให้เกิดอารมณ์ จึงออกอุบายซื้อไอติมให้ 1 แท่ง ลวงให้เดินไปเป็นเพื่อน ก่อนจะพาเข้าบ้านร้างลงมือข่มขืนจนสำเร็จความใคร่ นำตัวส่งไอซียูเป็นการด่วน เพราะอวัยวะเพศฉีกขาดเลือดไหลไม่หยุด และเกิดอาการซ๊อก ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอด[11]
จากกรณีย์ที่ยกตัวอย่างข่าวทั้งสองข่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันปัญหาความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรมโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับทางเพศนั้น มิได้มีวงจำกัดเฉพาะเพียงผู้ใหญ่เท่านั้น แต่มันได้แผ่วงขยายไปถึงเด็กอีกด้วย ลองคิดดูซิว่า ขนาดเด็กอนุบาลยังมีอารมณ์ทางเพศทำได้ถึงขนาดนี้ แล้วต่อไปสังคมไทยจะอยู่กันอย่างไร?
ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ปัญหาทางด้านศีลธรรมใช่ไหม? แล้วทำไมไม่ให้ผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง โดยเฉพาะพระเจ้าพระสงฆ์ไปดูแล เปิดโอกาสให้ท่านสักนิดหนึ่งจะเป็นอะไรไป เผื่อว่าสังคมไทยจะดีขึ้น
พระเจ้าพระสงฆ์ในทุกวันนี้เคยได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐบ้างไหม? เกี่ยวกับทางด้านการเผยแผ่ศีลธรรม พระแสดงธรรมตามรายการวิทยุ ต้องจ่ายเงินเองบังสกุลไม่รู้กี่รอบ เรี่ยไรจนปากเปียกปากเฉอะ ไม่ได้งบประมาณมาสนับสนุนจากภาครัฐเลย ทั้ง ๆที่การเผยแผ่นั้นถือว่าเป็นหัวใจของพระศาสนา อาจจะเรียกว่าเป็นการเผยแผ่ศาสนธรรมก็ได้ ขณะที่พระเจ้าพระสงฆ์ที่อุทิศเผยแผ่ธรรมตามรายการวิทยุต้องอยู่อย่างอด ๆอยาก ๆ แต่ศาสนาอื่นเขามีงบประมาณเหลือเฟือในการเผยแผ่ แถมยังภาครัฐเอาอกเอาใจอีก ถ้าลองไปฟังรายการวิทยุดูจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีบางศาสนาจัดรายการมากมายเต็มไปหมดจนแทบจะมากกว่าพระที่ไปเทศน์ในรายการวิทยุเสียอีก นี่หรือประชาธิปไตย ทุกอย่างต้องเป็นไปตามสัดส่วนเปอร์เซ็นของศาสนิกมิใช่หรือ แต่นี่ดูอย่างไรศาสนาพุทธทุกวันนี้เรามีฐานะไม่แตกต่างหรืออาจจะตกต่ำยิ่งกว่าลูกคนใช้เสียอีก
ในเมื่อรัฐไม่ช่วยก็ไม่เป็นไร แต่ก็ต้องควบคุมสิ่งที่ไม่ดี อัปปรีย์ จัญไร ไม่ให้เข้ามาในประเทศด้วย อย่างเช่นสื่อลามกที่มาทางอินเตอร์เน็ต หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือแม้แต่เกมส์อินเตอร์เน็ตภาครัฐเคยคิดจะเข้ามาควบคุมบ้างไหม? ปล่อยให้เด็กถูกมอมเมาอยู่ทุกวัน แล้วอย่างนี้จะให้เด็กเอาเวลาที่ไหนมาสนใจในเรื่องศีลธรรมเล่า นี้คือสาเหตุแห่งการเสื่อมของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

พระจะอยู่อย่างไรในสังคมประชาธิปไตย

ในยุคที่เป็นประชาธิปไตยทุกวันนี้ พระจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น? แต่จะแก้ไขอย่างไร? จะมามัวหลับหูหลับตาแล้วบอกว่าธุระไม่ใช่ไม่ได้ เรื่องความเป็นตายของพระศาสนา ของประเทศชาติ ถ้ามีพระรูปใดบอกว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวขอให้รู้เถิดนั่นแหละคืออลัชชีตัวจริงทางพระพุทธศาสนา
ในเมื่อประชาธิปไตยเน้นการเรียกร้อง พระก็จำเป็นต้องเรียกร้องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อสังคมส่วนรวม มิใช่จะมัวแต่นั่งนอนและหลับหูหลับตาสอนเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่นไปเรื่อยเปื่อย ถ้าเป็นเช่นนี้ไม่นานพระพุทธศาสนา ล่ม! เมืองไทย ฉิบหาย !
ดังนั้นพระจำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม มิใช่เลือกปฏิบัติเหมือนอย่างทุกวันนี้ พระจำเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในเรื่องการสั่งสอนศีลธรรมให้กลับมาเหมือนดังในอดีต เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกร้องความเป็นธรรมให้กลับมานั่นคือเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ดังนั้น...พระพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องเป็นศาสนาประจำชาติและจะต้องจารึกเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ..

ภาคผนวก
ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมือง?
จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้พระพุทธศาสนาแยกตัวออกจากบ้านเมืองโดยเด็ดขาด จากรายกรองสถานการณ์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ได้เชิญ พระเดชพระคุณ ดร.พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับพระมโน เมตตานนฺโท อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณวิทยาลัย ได้พูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับ การที่จะสมควรบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ในรัฐธรรมนูญ จากการอภิปรายพอสรุปได้ใจความดังนี้

คำถามก็คือสมควรที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่?
ดร.พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ท่านไดเปิดประเด็นว่า: สมควรที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะคำว่าศาสนาประจำชาตินั้นเป็นศาสานาของคนส่วนใหญ่ ควรบัญญัติเอาไว้ส่วนจะได้เปรียบกันอย่างไรก็ต้องไปดูที่กฎหมายลูกอีกที ประเทศอื่นก็บัญญัติไว้ อย่างเช่น มาเลเซียมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเพียงแค่ 46% แต่ก็สามารถบัญญัติศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ (ถ้าเป็นชาวพุทธจะไปสร้างศาลา วิหาร ต้องขออนุญาติกรรมการจากพื้นที่ หรือชาวจีนที่จะซื้อที่ดินสร้างบริษัท10ปีก็ยังไม่อนุมัติก็ยังมี) พม่า ศรีลังกา ก็บัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งไม่เหมือนพวกเราพวกเราที่ออกมาบอกกล่าวนี้ยังไม่มีประชาวิจารณ์ แต่ก็มีคนบางคนออกมาพูดกันไว้ก่อน จริง ๆต้องเปิดเวทีสาธารณะว่ามนุษย์ต้องการอะไรในประเทศไทย เสร็จแล้วก็มาประมวลทั้งหมด ไม่ใช่มาตีกรอบเอาไว้ และออกมาบอกกล่าวว่า (การบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ) ไม่ควรไม่เหมาะจริงแล้ว เพราะมีไม่เคยมี(ในรัฐธรรมนูญ) รัฐธรรมนูญก็ไม่เคยมี ถ้าเช่นนี้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่เคยมีถ้าเช่นนั้นก็ไม่ต้องบัญญัติรัฐธรรมนูญตั้งแต่ครั้งแรกใช่ไหม? ตั้งแต่พ.ศ.245เป็นต้นมาก็ไม่ได้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเอาไว้ แต่นี่เป็นบ้านเรา ถ้าศาสนาอิสลามบรรจุว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ถามว่าศาสนาคริสต์ในประเทศไทยอยู่ได้ไหม? ตอบว่าอยู่ไม่ได้แน่นอน อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างมาแล้วที่ทะเลาะกันเรื่องศาสนา ที่อินเดียก็ทะเลาะกันเรื่องศาสนา ประเทศกัมพูชามาตรา 15 ก็บรรจุเอาไว้อย่างชัดเจน
คำถามเขาบรรจุแล้วสร้างผลดีอย่างไร?
ในประเทศไทยนอกเหนือจากพุทธบัญญัติศาสนาอื่นจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น การประชุมผู้นำศาสนาโลกซึ่งที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้จัดประเทศอื่นไม่สามารถทำได้ แต่ที่ทำได้เพราะว่าประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง และเมื่อเอาแบบฟอร์ม(สมควรบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ) ไปให้กรอก แม้แต่ชาวคริสต์ก็ยังเห็นด้วยว่า สมควรบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ มีเฉพาะนักการเมืองบางท่านเท่านั้นที่อ้างว่าเป็นพุทธแต่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมออกมาพูดกันเอาไว้
คำถามมันอาจจะสร้างความแตกแยกหรือเปล่า?
จริง ๆแล้วมันแตกมาตั้งนานแล้ว อย่างเช่นทางภาคใต้ ที่มันแตกจนไม่มีชิ้นดีแล้ว และประสานก็ไม่ได้ประสานไม่ได้ถูกต้อง ไปฟังทุกฝ่าย แล้วฟังชาวพุทธกันบ้างไหม 12 ข้อ ของนายอนั.. ไปฟังพระเจ้าพระสงฆ์กันบ้างไหม?

พระมโนกล่าวแย้งว่า: เกรงว่าจะไม่ผลดี จะมีผลเสียตามอีกมาก ถ้าบัญญัติจะสร้างความแตกแยก จะทำให้คนที่นับถือศาสนาอื่นเป็นประชาชนชั้นสอง ทำให้เขารู้สึกไม่สบาย และขัดกับหลักธรรมพระพุทธศาสนา เรื่อง อหังการ มมังการ (เรื่องการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน) ดังนั้น รัฐ กับ ศาสนา ควรแยกออกจากกันเด็ดขาด ไม่ควรเกี่ยวข้องกัน ในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตย เขาจะมีหลักการในการแยก ระหว่าง church กับ State และยังกล่าวว่าพระภิกษุเป็นประชากรชั้นสาม คือ ทำ สิทธิการศึกษา หรือการเดินทางไปต่างประเทศ บัตรประชาชนไม่ได้ เลือกตั้งไม่ได้ผล เหมือนกับบาทหลวงในศาสนาคริสต์ผลมาจากพรบ.สงฆ์2505

ดร.พระมหาโชว์ กล่าวว่า: คำว่าประชาชนชั้นสองนั้นจริงแล้วคือพุทธไม่ใช่ศาสนาอื่น ถ้าเปรียบเทียบดูอย่างเช่น พระ ได้ 7000/รูป แต่ ครูสอนปอเนาะได้12000 บาท/คน และในความเป็นจริงแล้ว ศาสนากับบ้านเมืองนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้เด็ดขาด การที่พระเลือกตั้งไม่ได้ นั่นคือกฎหมาย อะไรคือกฎหมายสิ่งนั้นเป็น politic คือรัฐศาสตร์คือการเมือง พระจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอย่าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ดังนั้นไม่สามารถแยกออกจากบ้านเมืองได้ เมื่อชาวบ้านเขาเดือดร้อนพระสงฆ์จะเข้าไปอย่างไร?เพื่อที่จะไปช่วย เมื่อเกิดความเดือดร้อนพระก็สามารถเข้าไปติติงเข้าไปสอนได้ แม้แต่การเป็นเจ้าอาวาสก็เกิดจากกฎหมายคณะสงฆ์ อย่างศรีลังกา พระต้องไปเป็นสส.เพราะว่านักการเมืองไม่ฟังพระเจ้าพระสงฆ์ออกกฎหมายมากระทบ ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา และสิ่งที่ไม่ได้กล่าวเลยก็คือ ในหมวด2 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ได้ตัดคำว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะออก เราพูดว่าพระไม่ควรยุ่งการเมือง แต่ทำอย่างไรที่จะนำศีลธรรมเข้าไปในระบบการเมืองและก่อให้เกิดประโยชน์ที่สุดตรงนี้ควรจะพูดกัน?

พระมโนแย้งว่า: ศาสนา กับรัฐ ควรจะแยกกัน เพราะพระธรรมวินัยสมบูรณ์แบบอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องพึ่งรัฐ ถ้าจะให้ดีควรยกเลิกกฎหมายพรบ.สงฆ์ทั้งหมด อย่างเช่น ใต้หวัน แต่ก่อนใช้พรบ.สงฆ์คุมศาสนา ในสมัยรัฐบาลเชียงไคเช็ก แต่เมื่อเขาเป็นประชาธิปไตยเต็มที่[12] เมื่อประมาณ 40 ที่แล้ว ศาสนาไม่เสื่อมกลับเจริญขึ้น[13] เพราะพระธรรมวินัยไม่จำเป็นต้องพึ่งรัฐ[14] พระธรรมวินัยมีการปกครองที่ชัด การดูแลพระ ทุกวันนี้ มีกฎหมายมาครอบพระธรรมวินัยอีกที กลไกลการทำงานหายไปหมด คำว่าสงฆ์คือคณะ ผล พรบ.สงฆ์2505 ทำให้คำว่าสงฆ์แปลว่า เป็นรูป ประเทศเป็นประชาธิปไตย อย่างเช่นออสเตรเลีย มีชาวพุทธเพิ่มขึ้นเพราะว่าเป็นนอิสระมากขึ้น

คำถามว่า องค์ประกอบศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพิธี ศาสนวัตถุที่สำคัญคือศาสนธรรมที่เป็นแก่นแท้คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ยึดโยงเป็นศาสนาพุทธ การกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญส่งเสริมสิ่งเหล่านี้(พระพุทธศาสนา)อย่างไร?
ดร.พระมหาโชว์ : ที่ผ่านมาอิสลามได้ประโยชน์จากบัญญัติพรบ.อิสลาม สาม สี่ ฉบับ นี่ก็เพราะการบัญญัติ และถ้าไม่กำนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเขียนกฎหมายลูกไม่ได้ ผิดกฎหมาย จะไปสนับสนุนไม่ได้ แต่พระมโนพูดเรื่องหลักธรรมว่าโลกุตร แต่การเมืองทุกวันนี้การเมืองเล่นกันสกปรกเพราะมีโลกียะ ที่ท่านมโนกล่าวว่าการบัญญัติดูเหมือนว่าจะไม่คิดถึงพระธรรมวินัย แต่ในความจริงแล้ว ในสมัยพุทธกาล มีเอคทัคตะ นั่นก็เป็นการแบ่งแยกการปรกครองอยู่แล้ว เช่นพระมหากัสปะเลิศทางธุดงค์ เป็นต้น ไปอยู่ที่ไหนต้องอนุโลมตามบ้านเมืองนั้น ราชานัง อนุวัตขุตุง แต่ไม่ใช่ตามเสียทั้งหมด อย่างเช่นการปกครองคณะสงฆ์ อย่างที่มีการปกครองคณะสงฆ์ที่เป็นอยู่นี้เช่น เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะจังหวัด ตรงนี้การอนุโลมตามบ้านเมือง ถ้าอย่างนั้นก็ต้องมาคุยเรื่องการปกครองคณะสงฆ์อีกรอบ แต่ตอนนี้เรากำลังพูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญแต่ประชากรชาวพุทธปัจจุบันมีถึง 95 % (59 ล้านคน) สิ่งที่ควรจะบรรจุเอาไว้เรากลับเพิกเฉย มีคนพูดว่า เลือดจะนองท้องช้าง แต่เราเคยพูดไหม อย่างสนามบินสุวรรณภูมิแม้แต่ที่นั่งของพระมีไหม? ยังไม่มี แม้แต่การอุปถัมป์ การคุ้มครอง การปกป้อง(พระพุทธศาสนา) อย่างเช่นการเอาพระพุทธรูปปรางร่วมประเวณีของสถานฑูตเกาหลีใต้ หรือเวบไซด์Buddhaponrn.com ข้างในมีรูปเสพสังวาสกัน ถ้าบัญญัติแล้วสิ่งเหล่านี้จะตามมา ตรงจุดนี้มีการส่งเสริมสนับสนุนแล้วการที่รัฐจะเข้าไปดูแลถ้าพระสงฆ์ทำได้(ก็ให้ท่านดูแลกันเอง) ในเรื่องหลักของศีลธรรมเราพูดกันบ่อยว่าต้องการศีลธรรมกลับมา แต่พอพูดถึงเรื่องศาสนาเรากลับไปกลัว ที่ผ่านมาในเรื่องกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ อย่างเช่นภาษีเมนเผาศพที่พระกำลังถูกเก็บจากกฎหมาย

พระมโน: เน้นเรื่องประชาชนชั้นสองจะเกิดขึ้น ผลกระทบจะภาคใต้ก็จะยิ่งลำบากมากต่อการสมานฉันท์ ถ้าบัญญัติ การมีศาสนาในทะเบียนอย่างหนึ่ง แต่การปฏิบัติธรรมอีกอย่างหนึ่ง โดย ศีล สมาธิ ปัญญา การที่บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จะเกิดผลประโยชน์ตาม จะเกิดการแย่งผลประโยชน์กันค่อนข้างวุ่นวาย

ดร.พระมหาโชว์ : ที่กล่าวมานี้ว่าคนศาสนาอื่นเป็นประชาชนชั้นสองนั้นจริงแล้วยังมิได้บัญญัติ ตอนนี้เราชาวพุทธกลายเป็นประชาชนชั้นสอง ดูอย่างที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นต้น(มีห้องละมาด แต่ไม่มีที่นั่งพระสงฆ์) แต่ของพุทธเรานี้ ที่ผ่านมากฎหมายก็ไม่ได้ ผลประโยชน์เราก็ไม่ได้ นี้หรือ! เป็นประชาชนชั้นหนึ่ง? มีแต่เปอร์เซ็น เรากำลังพูดถึงเรื่องกฎหมาย มิใช่จะพูดถึงเรื่องโลกิยะโลกุตรการหลุดพ้น อย่างเช่นกฎหมายที่มาเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ เราไม่สามารถที่จะแยกกฎหมายออกได้เพราะว่า มันเป็นPolitic เป็นกฎหมาย และเป็นการเมือง มันเป็นรัฐศาสตร์ เราไม่สามารถแยกได้ อย่างเช่น ที่ใดถ้าการเมืองไม่สนใจพระศาสนา ศาสนานั้นก็อยู่ไม่ได้ ผู้บริหารไม่สนใจพระสนใจศาสนานั้นก็อยู่ไม่ได้ ในประเทศไทยของเราตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันเกี่ยวข้องโดยตลอด โดยที่ไม่เราไม่ได้แบ่งแยก บ้านคือบ้าน วัดคือวัด
-ถ้าบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติศีลธรรมจะดีขึ้นไหม?
ดร.พระมหาโชว์ : ถ้าบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไปสู่การปฏิบัติทำไมจะไม่ดีขึ้น
พระไม่ยุ่งการเมืองแต่การเมืองไปยุ่งที่วัด? เราจะปฏิรูปกันอย่างไร?จะแม้แต่ศาสนาอื่นเราก็ต้องพูดว่าจะสมานฉันท์กันอย่างไร?
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพระศาสนามีอยู่จริง(เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย) ดังนั้นเราควรจะมีบทบัญญัติที่ชัดเจนโดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทเสียก่อนเพื่อที่จะเป็นแนวทางไปสู่การปฏิรูปที่ชัดเจน เพื่อที่จะไปเขียนกฎหมายลูกได้ เพื่อที่คุยกันต่อ เรื่องปฏิรูปองค์กรสงฆ์

พระมโนแย้งว่า : ถ้าไม่ยุ่งศาสนาศาสนาก็จะเจริญขึ้น เพราะรัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับศาสนาเกินไป ศาสนาเป็นเรื่องของประชาชนรัฐไม่ควรมายุ่ง

ดร.พระมหาโชว์ : ประเด็นนี้เราพูดในแง่กฎหมายในภาพคนไทย 63 ล้านคน จะตัดว่าพระสงฆ์ไม่ใช่คนไทยก็ไม่ได้ เรากำลังพูดถึงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ไปพูดถึงว่าไตรสิกขา ว่าศีล สมาธิ ปัญญาวิปัสนูกิเลสเป็นอย่างไร?
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องเล็งไปที่ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเมื่อใครไปร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องฟังพระเจ้าพระสงฆ์ แต่ก็การเสนอเช่นนี้จะเป็นสิ่งชั่วร้ายใช่หรือไม่? มันไม่ใช่ เพียงแต่ว่าคุณต้องการอะไรก็เสนอมา เช่นพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ,พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามะกะข้อนี้อย่าไปตัดออกมันมีนานแล้ว

พระมโน: ในศรีลังกาโดยกำหนดภาษา สิงหล เป็นภาษาประจำชาติ ทันทีที่ทำก็เกิดกบฏพยัคทมิฬทันที แค่นี้เองทำให้เกิดการรบกัน เกิดคนตายมา ถึง 3แสนคน เมื่อใดที่ยึดเอาผลประโยชน์ของคนหมู่มากก็จะเกิดปัญหา

ดร.พระมหาโชว์ : ในศรีลังกานั้น ถ้ามีปัญหา ฆราวาสเขาจะออกมาช่วยศาสนา แต่ในประเทศไทย ถ้ามีปัญหาศาสนาฆราวาสลอยตัวไม่สนใจ ที่ศรีลังกามีกระทรวงพุทธศาสนาเกิดขึ้น ผู้นำมานั่ง เดินเวียนเทียน

จดหมายผู้ชมทางบ้าน: ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มันจะได้นำไปสู่ให้กระทรวงศึกษาธิการไปกำหนดเรื่องหลักสูตรศีลธรรมเพื่อจะให้เด็กไทยไปเรียนรู้เหมือนแต่ก่อนจะเป็นไปได้ไหมครับ?
ดร.พระมหาโชว์ : เมื่อพ.ศ.2520 นายบุญสม มาติน(นับถือคริสต์) ได้ตัดวิชาหน้าที่พลเมืองศีลธรรม ต่อมา พระธรรมโกศาจารย์ ร่างหลักสูตรใหม่ และดร.สิริกร ทำ แต่จากสองหน่วยกิตมีเพียงแค่คาบเดียวแล้วจะหาศีลธรรมกันได้อย่างไร?

ถ้ามีรัฐธรรมนูญอย่างน้อยการศึกษาเรื่องอะไรต่าง ๆ กำหนดได้?
พระมโน: ในการศึกษาต้องเริ่มต้นมาจากชุมชน การกำหนดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไม่ได้สร้างผลดีเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ในการสอนศีลธรรม ผู้สอนจำเป็นจะต้องมาจากชุมชนปัจจุบันระบบการสอนการเรียนต่าง ๆ ปัจจุบันระบบการศึกษาการเรียนต่าง ๆของพระภิกษุพัฒนาไม่ได้ เพราะระบบการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของราชการ เจ้าอาวาสเป็นข้าราชการเพราะเราถือเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เวลาขานนาค จะถามว่าเป็นราชการหรือเปล่า? ถ้าเป็นราชการบวชไม่ได้[15] เพราะฉะนั้นการที่เป็นพระภิกษุต้องมีเสรีภาพในการศึกษา ต้องสามารถจะรู้ให้ทัน ชาวบ้านเขาคิดอะไร เขาไม่พูดอะไร เข้าใจอะไร ไม่ต้องมาอยู่ภายใต้หลักสูตรอะไรควบคุมไม่ต้องโยงรัฐธรรมนูญ พระภิกษุที่ไฝ่รู้มาจากรากฐานของชุมชน ระบบพระธรรมวินัยที่บริสุทธิ์ก็จะคัดกรองคนที่มีศรัทธามาบวช และเป็นปูชนียบุคคลในถิ่นนั้นได้ ไม่ต้องพึ่งราชการ พอมาสวมตำแหน่งหัวโขนตำแหน่ง เป็นเจ้าคุณ พระครูยุ่งแล้ว อำนาจการบริหารเป็นอำนาจเป็นมานะทิฐิ แทนที่จะเป็นคุณธรรมล้วน มันเป็นอำนาจจากขุนนางเป็นอำนาจศักดิ์นา

ดร.พระมหาโชว์ : ในเรื่องของการจัดระบบตรงนั้น อย่างเรื่องของพระราชคณะ เจ้าคุณ ถือว่าเป็นการปกครองคณะสงฆ์ ถ้าเราไม่มีอคติตรงนี้เลยไม่ได้ หรือโดนจำกัดสิทธิเสรีภาพว่าจะไปอยู่วัดไหนก็ได้ไม่จำกัด ตรงนี้เราต้องมีกรอบอยู่บ้าง ว่าบิณฑบาตรนี้เรื่องของพระธรรมวินัยเป็นอย่างไร? กฎหมายบ้านเมืองเป็นอย่างไร?อย่าลืมว่าพระภิกษุเรา หนึ่งต้องอยู่ในพระธรรมวินัย, สองก็คือกฎหมายบ้าน ควบอยู่สองชั้น อย่าไปนึกว่ามีเฉพาะพระสงฆ์แล้วจะมีเฉพาะพระธรรมวินัยเพียงอย่างเดียว
มีพระธรรมวินัยใดไปขัดกฎหมายบ้านเมืองไหมครับ?
กฎหมายพรบ.สงฆ์นั้นต้องอนุโลมตามพระธรรมวินัย เมื่อเห็นว่าว่าขัดแย้งกับพระธรรมวินัย ท่านก็เห็นว่าไม่เหมาะไม่สม ท่านก็จะตัด ตรงนี้มหาเถรสมาคมท่านมีดุลย์พินิจตรงนี้อยู่

พระมโน: แต่อาตมาไม่เห็นด้วยนะว่าการที่จะเป็นพระธรรมวินัย พระภิกษุจะต้องไม่ใช่ข้าราชการ แต่กฎหมายพรบ.สงฆ์กำหนดให้ภิกษุเป็นข้าราชการ มีเงินเดือนด้วย และที่เถียงกันอยากเป็นศาสนาประจำชาติก็เพราะว่าใครจะมีเงินเดือนมากกว่าใคร จะเป็นพระครูหรือเปล่า โต๊ะครูนี่ได้เงินเท่าไหร่
ดร.พระมหาโชว์กล่าวแย้งทันท่วงทีว่า : อันนี้ผิดประเด็น อย่างของท่านมโนเองนี้ ไม่มีสมณศักดิ์ และก็วัดก็ยังลำบากในการอยู่ (หาวัดอยู่ไม่ได้หรือเรียกว่า เร่รอนวนารามนั่นเอง) ไปอาฆาตกันเอง นั้นหยุด ๆ ๆ ตรงนี้เลย ไม่ควรจะพูด หยุดตรงนี้เลย
พิธีกร: ตรงนี้ (พระมโน) มองว่าไม่ควรเป็นระบบราชการ
ดร.พระมหาโชว์ : นั่นก็คือการมอง อย่างเรื่องของพระเจ้าพระสงฆ์ที่ท่านเป็นพระครู เป็นพระราชาคณะ เป็นเจ้าคุณ นั่นคือระบบการปกครองคณะสงฆ์ ตรงนี้ก็คือไล่ลำดับกันไป และตรงนี้ตัดได้หรือไม่ อย่างที่วิพากษ์กัน เรากำลังคุยว่าความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรจะเข้าไปในเรื่องของกฎหมาย และเราก็กระจายกันมามาใส่ในเรื่องของพระเจ้าพระสงฆ์ที่อยู่สังฆมณฑลดูไปแล้วก็ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่
คำถามจากผู้ชมทางบ้าน: พระพุทธทาสกล่าวทุกศาสนาให้ทุกคนทำดีอย่าดีทิฐิต่อกันเอาสันติภาพมาช่วยบ้านเมือง
ดร.พระมหาโชว์: จริง ๆ ที่ฆ่ากันก็เพราะการพูด ทุกศาสนาสอนให้คนดีเหมือนกัน แต่มันจะดีได้อย่างไร? ก็มันฆ่ากันทุกวัน อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่าถ้าทุกศาสนาต่างคนก็เอาส่วนที่ดีมาพูดกันมาปฏิบัติกันสันติภาพก็เกิด
คำถามจากผู้ชมทางบ้าน: น่าจะแก้พรบ.สงฆ์นั่นแหละ
ดร.พระมหาโชว์: แก้พรบสงฆ์ปลายเหตุ อันนี้เป็นกฎหมายหลักนะอย่าลืม นี่คือการที่เราจะออกแบบเป็นสถาปนิกสร้างบ้าน ต้องการให้บ้านเมืองปกครองกันอย่างไร เรามาช่วยกันคิด ว่าจะใส่อะไรลงไป
คำถามจากผู้ชมทางบ้าน: ก็บรรจุไว้ก็บรรจุไว้ไม่เห็นจำเป็นต้องปฏิบัติแค่ปกป้องศาสนาพุทธไว้ทำให้เหมือนศาสนาที่เขาก็ปกป้องศาสนาของเขาเหมือนกัน
มโน มันเป็นการปกป้องหรือเป็นการทำลายสังคม เพราะว่าการที่ไม่บรรจุไว้นี่มันมีผลดีประการหนึ่ง ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ใส่ไว้ก็ทำไม่ให้เกิดประชาชนชั้นสอง

ดร.พระมหาโชว์: เรื่องประชาชนชนชั้นสองในแนวทางปฏิบัติเกิดแล้ว ชาวพุทธเป็นประชาชนชั้นสอง อย่างเช่น งบประมาณสำนักพุทธฯ งบประมาณที่จะได้จากภาษีของชาวพุทธส่วนมาก 59 เปอร์เซ็น เขาเสียภาษีเยอะ ลักษณะเช่นนี้ อ้วนกินมากผอมกินน้อยหน่อยกินตามเปอร์เซ็น
พระมโน ประชาชนชั้นสอง มาจากพรบ.สงฆ์2505
ดร.พระมหาโชว์: ไม่ใช่เลย ท่านเห็นต่างด้วยและผิดอีกด้วย
คำถามจากผู้ชมทางบ้าน: ถ้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้มีงบประมาณมากขึ้น จะทำให้ไม่ต้องเรี่ยไรเหมือนปัจจุบัน
ดร.พระมหาโชว์: ถูกต้อง กฎหมายอุปถัมภ์ กฎหมายคุ้มครอง กฎหมายส่งเสริม มันต้องตามมา เหมือนกับการไปประกอบพิธีเมกกะ ปีละประมาณ 180 ล้าน มีพยายบาลมีกระทรวงคมนาคมดูและ แต่ว่าชาวพุทธ แต่อย่างคุณอดิศักดิ์ไป ใช้เงินใคร ใช้เงินส่วนตัว อันนี้ก็มาจากเพราะการบัญญัติ ต้องเห็นความสำคัญตรงจุดนั้นด้วย

พระมโน: ไม่คิดว่าจะต้องมีงบประมาณดูแลอะไรมากกว่านี้ไม่มีฐานะอะไรดีขึ้น พุทธศาสนาอยู่เพราะชาวบ้าน ไม่อยู่ได้ด้วยระบบของรัฐ ทุกวันนี้ข้าราชการกี่คนใส่บาตรทำบุญ?[16] ชาวบ้านต่างหากที่ทำ พระก็มาจากลูกชาวบ้าน เพราะฉะนั้นศาสนาบริสุทธิ์มาจากประชาชน และให้ประชาชนดูแลประชำชน เป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะดูแลศาสนา
พิธีกรกล่าวสรุปว่า : เป็นอันว่า ทั้งสองท่านมีความเห็นตรงกันว่า..
ดร.พระมหาโชว์ : ไม่ตรง เพราะเรากำลังพูดถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ท่านมโนนี้คล้ายกับว่าจะไปโลกุตระให้มันพ้นจากโลกนี้ไปไม่ต้องมาเกี่ยวข้อง

สรุปการอภิปราย
ในการอภิปรายในครั้งนี้ต่างก็มีความเห็นต่างกันออกไป โดยทางดร.พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ท่านได้กล่าวว่า สมควรที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะสาเหตุที่ว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธมาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่าศาสนาประจำชาติจึงหมายถึงศาสนาของคนส่วนใหญ่ และเหตุผลที่จะต้องบัญญัติเอาไว้ก็เพราะว่า ทุก ๆวันนี้ พระเจ้าพระสงฆ์ชาวพุทธไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันทางกฎหมายเหมือนกับบางศาสนาที่อยู่ในเมืองไทย ทั้งที่เราเป็นเจ้าของประเทศแท้ ๆ แต่ชาวพุทธทุกวันนี้กลายเป็นประชาชนชั้นสองไป
ซึ่งในหนังสือเรื่องภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ของพระพรหมณคุณาภรณ์ หน้า21 ได้กล่าวเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องการทำลายพระพุทธรูปของพวกตาลีบันว่า: อาตมาจะอ่านให้ฟังเป็นตัวอย่าง ข้อเขียนนี้เขาส่งไปลังหนังสือพิมพ์ สยามรับ สัปดาห์วิจารณ์ (ฉบับที่ได้รับมาเป็นถ่ายเอกสาร จะต้องค้นดูอีกทีว่าวันที่เท่าไร) เขาเขียนหัวข้อเรื่องว่า “เวรกรรมของทาลีบัน” เนื่อง่จากเป็นข้อเขียนยาว จึงจะอ่านเฉพาะบางส่วน
“เรื่องการทำลาย่พระพุทธรูปของพวกทาลีบันที่ผ่านมานั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องของศาสนิกชนอื่น ที่ไปทำลายศาสนาถานของชาวพุทะ ซึ่งพระพุทธรูปเป็นที่เคารพสักการะสำหรับศาสนาของเขา”
ชาวมุสลิมคนนี้เขียนต่อไปว่า
“สิ่งที่เขาทำอาจเป็นสิทธิของเขา ที่ไม่มีใครไปว่าเขาได้ เราก็มีสิทธิ์แค่ออกความเห็นและวิจารณ์ เขาจะฟังหรือไม่ฟังก็เป็นเรื่องของเขา เพราะเขาทำในบ้านของเขา ถ้ามุสลิมไทยมีรูปเจว็ดในบ้านเราก็ต้องกำจัด ท่านวันนอร์ของเราก็เปลียนแปลงห้องรัฐมนตรี โดยการยกพระพุทธรูปออกไป และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ก็ยกพระพุทธรูปออกจากห้องทำงานเหมือนกัน การที่จะให้อิสลามเป็นสากลไม่ได้หมายความว่าจะยืดหยุ่นได้ทุก ๆ เรื่อง อิสลามเป็นศาสนาที่สร้างสรรค์ไม่ใช่ทำลาย บางครั้งการทำลายอาจเป็นสาเหตุจากการสร้างสรรค์ ศาสดามูฮามัดก็เคยทำสิ่งเดียวกัน บรรดาเทวรูปต่าง ๆ ที่อยู่ในเมกกะถูกทำลายแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น่นั้นก็ทำให้สังคมรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว”
นี้คือท่าทีที่เป็นตัวอย่าง เขามองประเทศอาฟกานิสถานเป็นบ้านเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ถ้าอย่างนี้ก็ลำบาก หมายความว่า คนถือศาสนาอื่นทั้ง ๆที่เกิดที่นั่น ก็ไม่มีบ้าน ไม่มีสิทธิ์อย่างนี้ก็ต้องอยู่บ้านคนเดียว
นอกจากนั้นคำว่า สากล ที่ชาวมุสลิมท่านนี้เขียน ก็เห็นได้ว่า มิใช่ไหมายถึงการทำให้คนทั้งหลายทั่วไปทั้งหมดเข้าใจศาสนาอิสลามถูกต้องแล้ว เห็นชอบยอมรับทั่วกัน อย่างที่เราเข้าใจ แต่หมายถึงการที่จะต้องให้ทุกคนและทุกอย่างเป็นไปตามที่ศาสนาอิสลามกำหนด ไม่ว่าใครจะพอใจหรือยอมรับหรือไม่...
พระสงฆ์กับการบ้านการเมืองนั้นไม่สามารถจะแยกจากกันได้ เพราะว่าพระก็ต้องอยู่กับชาวบ้านจะกล่าวว่าพระไม่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองก็ไม่ได้ เมื่อประชาชนเดือดร้อน พระจำเป็นต้องเข้าไปอย่างไร?ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ เมื่อบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่แล้ว ก็จะได้นำไปสู่การบัญญัติไว้ในกฎหมายลูก และนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างเช่นให้กระทรวงศึกษาธิการไปกำหนดเรื่องศีลธรรมให้เด็กไทยได้เรียนรู้เป็นต้น แต่ถ้าไม่ได้บัญญัติแล้วนำไปเขียนเป็นกฎหมายลูกไม่ได้ เพราะว่ามันผิดกฎหมาย ประเด็นตรงจุดนี้ผู้เขียนคิดว่า น่ามีเหตุผลซึ่งสามารถรับฟังได้
ส่วนประเด็นที่พระมโน เมตฺตานันโท ได้แย้งว่า ไม่สมควรบัญญัตินั้น เพราะเกรงว่าจะทำให้ศาสนาอื่นเป็นประชาชนชั้นสอง เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ และขัดกับหลักธรรมเรื่อง การไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งการปกครองโดยระบบคณะสงฆ์เป็นอำนาจากการสั่งการเป็นมานะทิฐิเป็นต้น ดั้งนั้นรัฐกับศาสนา จึงจำเป็นต้องแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ความคิดที่สุดโต่งจนเกินไป ในเรื่อง รัฐ กับศาสนานั้นต้องแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด โดยอ้างประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเขาทำกัน ผู้เขียนคิดว่าที่ท่านกล่าวมาน่าจะหมายถึง ประเทศตะวันตกบางประเทศ หรือสหรัฐอเมริกา ที่ไม่บัญญัติเรื่องศาสนาประจำชาติ โดยเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นที่เขาไม่บัญญัติศาสนาประจำชาติก็เพราะว่ามีเหตุผลอันเนื่องมาจากประวัติศาสตร์สงครามทางศาสนานั่นเอง สงครามศาสนา มีชื่อ ก็คือ สงครามครูเสด สงคราม30 ปี โดยเฉพาะสงคราม30ปี ซึ่งเป็นการต่อสู้ห้ำหั่นบีฑากันระหว่างศาสนาคริสตร์ด้วยกันเอง คือพวกที่นับถือนิกายคาทอลิก และโปแตสแตน เพียงเพราะแตกต่างกันแค่นิกายก็ฆ่าฟันกันล้มตายเป็นจำนวนมากหลายล้านคน เมื่ออเมริกาเป็นอิสระจึงเห็นถึงภัยอันนี้จึงไม่กล้าที่จะบัญญัติศาสนาประจำชาติอันเนื่องมาจากความขัดแย้งของนิกายของคริสต์ศาสนาด้วยกันนั่นเอง[17] ตรงจุดนี้น่าจะสรุปได้ว่า การที่ตะวันตกได้พยามแยกรัฐกับศาสนาออกจากกันจึงน่าจะเป็นเพราะศาสนาคริสต์ได้เข้าไปในสังคมมนุษย์และสร้างความแตกแยกให้กับสังคมจนเกิดสงครามล้างผลาญชีวิตมนุษย์ล้มตายไปเป็นจำนวนมากเพียงแค่แตกต่างนิกายที่นับถือเท่านั้น ประเด็นของทางตะวันตกจึงพอน่าจะรับฟังได้ เพราะมีเหตุจำเป็นในเรื่องความขัดแย้งทางศาสนา แต่เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว มันแตกต่างจากทางตะวันตกโดยสิ้นเชิง ถ้าเรามองดูประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ประเทศไทยก็รับทั้งเถรวาท มหายาน ฮินดู มากมาย แต่ไม่เคยมีสงครามในเรื่องศาสนากับศาสนาเดียวกันเลย สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ แม้กับศาสนาอื่นศาสนาพุทธก็อยู่ร่วมได้อย่างสงบสุขเช่นเดียวกัน จึงไม่มีประเด็นขัดแย้งกันทางเรื่องศาสนา ดังนั้นจึงไม่น่าจะสมควรในการแยก รัฐ กับพระพุทธศาสนาออกจากกัน เพราะถ้าหากแยกออกจากกันแล้ว พระพุทธศาสนาก็อยู่ไม่ได้ สังคมไทยก็อยู่ไม่ได้ และที่สำคัญ พุทธศาสนานั้นมีจุดอ่อนอยู่อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ ศาสนาพุทธสอนเรื่องความเมตตาเป็นหลัก เน้นความไม่รุนแรง จึงเป็นเหตุให้ศาสนาอื่นใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเข้ามาบั่นทอนทำลายพระพุทธศาสนาได้ง่าย ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องอาศัยอำนาจรัฐในการช่วยเหลือ
และอีกประการหนึ่งการที่ พระมโนได้กล่าวว่า เวลาบวช ในพระวินัยไม่ให้ข้าราชการมาบวช แต่เจ้าอาวาสเป็นข้าราชการในพรบ.สงฆ์ จึงใช้ไม่ได้นั้น ผู้เขียนเห็นว่า ท่านมโนนั้น พยายามสร้างแนวความคิดทางปรัชญาให้มันวกวน สันสน ในลักษณะจับแพะชนแกะ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตน มากกว่า จริง ๆ ที่กล่าวว่า เวลาคนที่บวชนั้นโดยส่วนใหญ่ก็เป็นคนธรรมดามิใช่เจ้าอาวาส จึงไม่ใช่ราชการ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสนั้นเป็นข้าพราชการตามพรบ.สงฆ์ซึ่งเป็นไปเพราะอนุโลมตามกฎหมายโลกเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของท่านจึงขัดแย้งกันเอง เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพราะว่าคนที่เข้ามาบวชก็มิใช่เจ้าอาวาส และพระทุกรูปก็มิได้เป็นเจ้าอาวาส แต่เกิดจากการคัดกรองจากพระสังฆาธิการผู้ใหญ่อีกชั้นหนึ่ง เรื่องที่ท่านมโนนำมาเสนอแต่ละเรื่องจึงไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่ท่านก็นำมาประติดประต่อเพื่อเอาตัวรอดไปได้
ส่วนในเรื่องการศึกษาความมาจากชุมชนไม่เกี่ยวข้องกับรัฐหรือราชการนั้น ประเด็นที่ท่านมโนได้เสนอขึ้นมานี้ ผู้เขียนเห็นว่า ท่านมโนคงเดินทางไปต่างประเทศเห็นประเทศเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คงจะเกิดความประทับใจแล้วเก็บมาคิดจนขึ้นสมอง แล้วนำมาเสนอในที่ต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สังคมไทยแตกต่างจากต่างประเทศที่เขาเจริญแล้วทางการศึกษา ประเทศไทยมีความแตกต่างระหว่างชนชั้น และการศึกษาอยู่มาก ถ้าการศึกษามาจากชุมชนนั้นดี ทำไมครูในกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องออกมาคัดค้านเรื่องที่จะโอนครูไปอยู่ในการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเช่น อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล)เสียละ? ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าระบบท้องถิ่นของเมืองไทยนั้นเรามีแต่โครงสร้าง แต่เนื้อแท้หรือแก่นแท้ภายในไม่ยังเข้มแข็ง ถ้าเราลองนึกภาพดูว่า ครูที่จบการศึกษา ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก แต่ต้องไปอยู่ภายในการปกครอง อย่างเช่นผู้ใหญ่สีที่จบเพียงแค่ป.4ไม่มีความรู้เป็นเจ้าแม่อยู่ซึ่งได้ตำแหน่งมาจากอิทธิพลของเงินทองจนทำให้ได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นต้น กรณีย์เช่นนี้จะให้ครู อาจารย์ที่ท่านเรียนจบมาแล้วมีความรู้สูง เป็นปูชนียบุคคลของประเทศไปอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มผู้อิทธิพลเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้อย่างไร ? นั่นก็เพราะว่าประเทศไทยไปรับเอาแบบการปกครองมาจากต่างประเทศแต่ภายในเราก็ยังเหมือนเดิมคือไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมากกว่าเดิม เพียงแต่รับเอาแบบตะวันตกมาเพื่อให้ดูว่ามีเหมือนเขาเท่านั้น ประเทศนั้นมี ฉันก็มีด้วย แต่ภายในความเป็นแก่นแท้ของเราไม่ได้มีเหมือนกับเขาเลย ไม่ได้มองดูเลยว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นเช่นไร โง่อย่างไร?ก็โง่อยู่อย่างนั้น งมงายอย่างไร?ก็งมงายอยู่อย่างนั้น? เพราะอะไร เพราะเราเน้นเพียงแค่ปริมาณแต่เราไม่ได้เน้นที่คุณภาพที่มันจะเกิดขึ้น?
ถ้าการศึกษาไทยมาจากชุมชนอย่างที่ท่านมโนกล่าวไว้นั้น ใช้ในต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะคนตะวันตกเป็นคนชอบใฝ่รู้แสวงหาความรู้เป็นนิสัย แต่ว่าถ้ามาใช้กับเมืองไทยเมื่อไหร่รับรองว่าฉิบหายเมื่อนั้น เพราะพื้นฐานของคนไทยส่วนใหญ่เรายังมีความงมงาย เชื่อในไสยศาสตร์อยู่เลย แล้วถ้านำระบบนี้เข้ามาใช้โดยปราศจากมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้เป็นเกณฑ์แล้ว ลองคิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
ประเด็นของท่านมโนผู้เขียนเห็นว่า ความคิดของท่านนั้นไม่สามารถนำมาเป็นบันทัดฐานได้เลยแม้แต่เรื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐ เรื่องศาสนา เรื่องการศึกษาเป็นต้น ผู้เขียนจึงมีทัศนะไม่เห็นด้วยกับความคิดในลักษณะนี้









ถอดเกล็ด เผ็ดร้อน! กับจุดยืนทางด้านความคิด
ของพระปฏิบัติที่ออกมาเรียกร้อง
หลวงตาเทพสัมมา วัดสุทัศ
หลวงตาเทพสัมมาเป็นชื่อที่รู้จักกัน สำหรับพุทธศาสนิก และญาติโยมที่ปฏิบัติธรรม ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า จุดประสงค์ของท่านนั้นก็คือแนะนำชี้แนวทางคนทั่วไปทีสนใจปฏิบัติเพื่อไปสู่ความหลุดพ้น ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ดังนั้นท่านจึงจัดอยู่ในพระปฏิบัติทั่ว ๆ ไป
แต่เมื่อประเทศชาติบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนขึ้น เรามักจะได้พบเห็นท่านที่ท้องสนามหลวง หรือที่ลานแสดงธรรม ณ สถานที่ต่าง ท่านมิใช่เป็นเพียงพระผู้ปฏิบัติทั่วๆ เท่านั้น แต่ท่านยังเป็นพระผู้เรียกร้อง ความยุติธรรม ความสุขสงบ สันติ ให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย
ประเด็นที่ผู้เขียนได้ไปกราบนมัสการถามท่าน เกี่ยวกับประเด็นร้อน ๆ อยู่ในขณะนี้ เรื่อง สมควรที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบที่เพียงพอต่อความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง ผู้เขียนจึงได้พยายามนำมาเรียบเรียงไว้ ซึ่งมีดังนี้คือ
ประเด็นที่หนึ่ง พระสงฆ์กับบ้านเมืองจำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพัน์กันไหม? เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญบ้านเมืองพระสงฆ์จำเป็นต้องเข้าเข้ามามีบทบาทไหมครับ?
หลวงตา : เราต้องย้อนไปถึงรากแก่นที่พระพุทธองค์ทรงวางแนวทางไว้ ทำไมไม่ให้พระสงฆ์ไม่ให้สะสมอะไร? ไม่ให้ทำอาหาร ทำไมถึงต้องให้เราออกไปบิณฑบาตร นี่คือวางแนวไว้ว่า พระสงฆ์จะไปยโสโอหังกับญาติโยมไม่ได้เลย กับมวลชนทั้งหลายพระสงฆ์จะต้องนอบน้อม เพราะมีชีวิตได้ด้วยญาติโยมเหล่านั้น ศรัทธาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันจะมาตัดขาดจากกันไม่ได้! ศาสนาพุทธไม่ได้เด็ดขาด นี่คือสิ่งยืนยันที่ให้เราถือนิสัย4 คือการบิณฑบาตรนั่นแหละจะต้องสัมพันธ์กับโยม ต้องขึ้นอยู่กับโยม หลีกเลี่ยงไม่ได้
ประเด็นที่สอง อย่างที่พระที่ทำกัมฐานแล้วบอกว่าตัวเองเป็นพระปฏิบัติแล้วท่านบอกว่าท่านหลุดพ้นแล้ว บ้านเมืองท่านไม่สนใจหลวงตาที่ความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ?
หลวงตา: อันนั้นไม่ใช่พระที่หลุดพ้น เป็นพระที่ปลีกตัวและสำคัญตัวว่าหลุดพ้น คำว่าหลุดพ้นไม่ได้แปลว่าไม่เอาอะไรเลย แปลว่าไม่เอาไหน มันไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเกิดศึกล้างตระกูลศากยะ ก็ต้องไประงับ เกิดการแย่งน้ำของเหล่าศากยะและโกลิยะวงศ์ ท่านก็ไปห้าม นั่นไม่ใช่ระดับพระอรหันต์หรือ? นั่นระดับพระพุทธเจ้า หรือกรณีย์ที่พระพุทธองค์สำเร็จธรรมแล้ว ทำไมจึงมากล่าวส่อเสียด ติเตียนอย่างเช่น พระโพธิระ ทีเรียกว่าใบลานเปล่า โมฆะบุรุษ ทำไมพระองค์ทรงกล่าวอปิยะอย่างนั้น เป้าหมายในความหมายของพระองค์ ไม่ได้มีเจตนาจะไปให้ร้ายพระโพธิระ แต่พระโพธิระเป็นผู้มีมานะสูง สำคัญตนว่าเป็นครูสอนลูกศิษย์จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์มากมาย ท่านก็เลยแบกมานะเอาไว้สำคัญตนว่าเลิศกว่าใคร ๆ ท่านจึงปฏิบัติธรรมเท่าไหร่ก็ไม่บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าก็ใช้วิธีเพื่อกระตุ้นเพื่อให้พระโพธิระสำนึกตนให้เกิดความรู้สึกรำคาญเบื่อหน่าย แต่พระโพธิระกลับถือมานะทิฐิว่าจะเอาชนะพระพุทธเจ้าให้ได้โดยการออกไปประพฤติปฏิบัติธรรมเองกว่าจะบรรลุธรรมต้องไปกราบเท้าสามเณรที่เป็นพระอรหันต์ คือบางอย่างที่คนพูดมาเป็นเนื้อเป็นตอน และหยิบขึ้นมาพูดเหมือนกับตาบอดคลำช้าง ไปจับตรงไหนก็นึกว่าตรงนั้นช้าง เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดจึงสำคัญตน ว่าสิ่งที่ตนได้สัมผัสเพียงเล็กน้อยนั้นว่าเป็นทั้งหมด(การรู้เห็นธรรม) เพราะฉะนั้นการที่ท่านปฏิบัติธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปนั่งไปมีความรู้เข้าเล็ก ๆน้อย ๆ เหมือนกับเดินออกจากวัดไปตลาด ไปเห็นอะไร ๆ ก็นึกว่าเป็นปัญญา ก็เลยยึดถืออันนั้นว่าเป็นตัวตรัสรู้ และสำคัญตนว่า เมื่อตรัสรู้แล้วก็ต้องไม่เกี่ยวข้องกับโลก มันไม่ใช่ คนละเรื่องกัน เรา(พระ) ไม่ได้ไปทำเอง(เข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคม)ทั้งหมด เพียงแค่ไปชี้ เหตุผลให้ญาติโยมรับฟัง และญาติโยมเขาไปทำกันเอง หรือแม้แต่พระที่นำขบวนไป คือนำขบวนไปเพื่อจัดระเบียบ ไม่ใช่นำไปเพื่อไปเผาสภา นั่นไม่ใช่ นั่นเป็นอาการของฆราวาส เป็นอาการของคนถ่อย แต่พระไปจะนำกันสวดมนต์ ทำไมหลวงตาสอนโลกุตระธรรมแล้วถึงไปต้องไปประท้วง ก็เพราะโยมไม่เอานี่(พระจึงต้องออกโรงเอง) และเรื่องสภาวะธรรมก็อย่างหนึ่งแต่จะมาวางตัวเป็นอรหันต์ไม่มี พระอรหันต์ท่านก็วางตัวแบบคนธรรมดา เหมือนพระพุทธเจ้าที่คนจนนิมนต์ท่านก็ไป ไม่ใช่แค่คนรวย สิ่งที่เป็นตัวยืนยันทั้งหลายนี่ การที่อ้างว่าบรรลุธรรมแล้วไม่เกี่ยวข้องกับอะไร(สังคม) ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวข้องนั้นหมายความว่า ไม่ปรุงแต่งให้เป็นกิเลสที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง แต่เราต้องไปเกี่ยวข้องกับโลก คือชี้ธรรมให้เห็น ให้รู้ว่าเรียกร้องสิทธิ์นี้ เราเรียกได้แต่อย่าไปทำอาการถ่อย อาการไปด่าไปขับอะไรอย่างนั้น เราทำที่เรียกว่า อหิงสา แต่ไม่ใช่อหิงสาของพวกพันธมิตร อันนั้นไม่ใช่อหิงสา คำว่าอหิงสานั้นจะต้องไม่ไปราวี ไม่ไปเบียดเบียนเขา ไม่ใช่ไปขับไล่เขา ไม่ได้ไม่เลิกลา อย่างนี้ไม่ใช่อหิงสาแล้ว อย่างนี้เรียกว่า จะเอาข้างเดียวเหตุผลไม่ฟัง จะเอา เหมือนหมาจิ้งจอกจะจับกินลูกแกะจะกินให้ได้ แกไม่ทำใช่ไหม ถ้าไม่ทำพ่อแกก็ทำ ถ้าพ่อแกไม่ทำ ปู่แกก็ทำ ว่าแล้วก็จับลูกแกะกินเสีย สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราบรรลุธรรมจริงเราจะไม่ติคนอื่น แต่ที่หลวงตาติอยู่ทุกวันนี้ติพระสัจธรรมที่เขาสอนกันไม่ถูก มันเพี้ยนไป มันผิดไป ก็ชี้ได้เท่านั้น ฟังไม่ฟังก็ช่าง ไม่ได้ไปบังคับว่าจะต้องเอา เหมือนกับกระจกที่ส่องหน้าตน ก็คิดว่าหน้าในกระจกเป็นหน้าของเราจริง แต่ที่จริงแล้วกระจกเป็นแค่การกลับภาพเพื่อที่จะให้เราให้ ดังนั้นหลวงตาจึงต้องการกลับให้เขาเห็นถึงสิ่งที่เขาทำอยู่ เขายังยึดถือคำครูบาอาจารย์อยู่เหมือนกับ วิปัสนูกิเลส คนที่ยังไม่ได้สภาวะธรรมบอกว่าไปติดอยุ่ ก็เหมือนคนที่ไม่เคยสอบเปรียญ9แล้วบอกว่าติดอยู่ตรงนั้น อันนี้มันไม่ใช่ ต้องคนที่ได้เปรียญแล้วไปสอบไม่ได้ อันนี้เรียกว่าติด ธรรมทั้งหลายมีขั้นตอนลำดับ แต่การอธิบายคำว่า
ประเด็นที่สาม จากกรณีย์ที่พระได้เดินขบวนไปปฏิบัติที่หน้ารัฐสภา เมื่อพ.ศ.2545เพื่อเรียกร้องให้มีกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย มีคนกล่าวว่าพระภิกษุควรจะต้องวางอุเบกขา คือไม่เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง หลวงตามีความเห็นเป็นอย่างไร?

หลวงตา: กล่าวว่า ไอ้ที่พูดเช่นนั้น คือเป็นการพูดมั่ว ๆ อย่างนี้เอาไปเป็นบรรทัดฐานไม่ได้ เพราะคนที่พูดเช่นนั้น พูดแสดงออกไปเพราะกิเลสที่อยู่ภายในตัวของเขา คือพูดเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ที่จริงแล้ว อุเบกขา ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอารมณ์ (รับรู้) แต่หมายความว่า เป็นสภาวะที่อยู่ตรงกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์ คือมีอยู่คำไม่ได้ใช้ คำในแต่ละคำมีความหมายลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างเช่น คำว่าขันติ คือ การอดกลั้นต่ออารมณ์ที่อยู่ภายนอกเข้ามากระทบภายใน ส่วน ทมะคือ การอดกลั้นอารมณ์จากภายในที่พลุ่งพล่านออกมา เป็นต้น ถ้าทั้งสองเรียกว่า ตบะ หรือฌาณ คำเดียวกันแต่มีความหมายลึกแตกต่างกัน อย่างที่พูดว่าให้พระอุเบกขาวางเฉยนั้น เป็นการพูดชุ่ย แต่อุเบกขาที่กล่าวมาเป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร4 คือวางเฉยไม่ไปข้องเกี่ยว ไม่เป็นธุระ ในกรณีย์บ้านเมืองเดือดร้อนเราจะอุเบกขาไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น บ้านเมืองฉิบหายหมด ที่นาลันทา มุสลิมเข้าไปตัดคอพระ แสดงว่าพระเหล่านั้นไม่ได้บรรลุอรหันต์ เพราะถ้าเป็นพระอรหันต์มันจะมีวิธีทางออกเราไม่ได้จับอาวุธสู้แต่อย่างน้อยก็ต้องพูดให้ชะงัก สรุปว่า ในกรณีย์บ้านเมืองเดือดร้อนเช่นนี้วางอุเบกขาไม่ได้ แต่เฉพาะตนนี้เราวางได้ หมายถึงเรื่องราวกระทบกับเราอันนี้เราวางได้ แต่ถ้าเรื่องเป็นตายของพระศาสนาอย่างเช่นพระสัจธรรมนี้ มีคนมาเปลี่ยนแปลงดับแปลง คำสอนนี้ถ้าเราอุเบกขา ถ้าอย่างนี้เราจะมาบวชทำไม แล้วมีพระสงฆ์ทำไม ถ้าลักษณะเช่นนี้เปรียบเหมือนการเอาตัวรอด คนเหล่านี้จะเอามาเป็นบันทัดฐานไม่ได้ มันต้องมีเหตุมีผลของมัน เราปกป้องพระสัจธรรม เราไม่ได้ไปราวีอะไร แสดงตามสิทธิ จะมาปิดกั้นอย่างนี้ยอมไม่ได้ ตอนนี้อย่าไปคำนึงถึงคนที่ไม่เลื่อมใสยินดี จะเอามาเป็นอารมณ์ไม่ได้ พระวินัยไม่ได้ถึงกับห้าม ไม่ใช่ว่าเราอยู่ดี ๆไปทำแต่นี่มันมีเหตุรุกรานเข้ามา มันมีเหตุอันควรไม่ใช่มันอยู่สงบ ๆ แล้วเราไปเดินขบวน อย่างนี้หลวงตาก็ไม่เห็นด้วย แต่อย่างท่านดร.พระมหาโชว์นั้น ผมสนับสนุนว่าสมควรจะทำ เพราะท่านเป็นบริหารส่วนธรรมมะนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หมายถึงเป็นผู้นำ มีตำแหน่งมีอำนาจพอที่จะทำได้ แต่เรื่องพระสัจธรรมนี้ ถึงไม่มีตำแหน่งผมก็ต้องทำ

ประเด็นที่สี่ เรื่องพระพุทธศาสนาสมควรจะเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ หลวงตามีความเห็นอย่างไร?

หลวงตา : สมควรมากที่สุด และเหมาะสมที่สุด เพราะผู้ปกครองแผ่นดินในสมัยก่อนที่เป็นพุทธมามกะ ท่านมีอำนาจทั้งหมด จะมีบันทึกหรือบัญญัติหรือไม่? จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติ เพราะอำนาจอยู่ที่ผู้ปกครองในการสั่งการ นั่นคือการปกครองระบบสมบูรณายาสิทธิราชศาสนาพุทธเป็นศาสาประจำชาติ ก็คือ ผู้นำนับถืออย่างไร? ผู้อยู่ใต้ปกครองก็เชื่อถืออย่างนั้น พระพุทธศาสนาจึงมั่นคง ที่นี้เมื่อมาเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์แล้ว มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ซึ่งร่างโดยคณะราษฎร์หรือคณะปฏิวัติทุกฉบับเพราะฉะนั้นคนที่มาปฏิวัติ คนที่มาล้มล้างอำนาจของพระมหากษัตริยืไม่ได้แสดงฐานะความมีคุณธรรมอะไร ๆ ออกมา เขาจะมานึกถึงทำไม ในเมื่อเขามาร่างกฎ กฎอันนั้นทำให้เขามีอำนาจในการปกครอง เขาจึงไม่นึกถึงประชาชนส่วนใหญ่จะเชื่ออะไรนับถืออะไร เขากำจัดได้แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ และเขาก็ตั้งตัวเขาเป็นใหญ่ ในความเป็นใหญ่นั้นเขาใช้อำนาจเต็มที่ เขาไม่อ้างคุณธรรมเลย แต่กลับอ้างเขามีคุณธรรม ต่างกันนะ คำว่าอ้างคุณธรรม คือทั้งหมดจะต้องเป็นไปโดยคุณธรรม เขาจึงอ้างว่าเขามีคุณธรรมไหนเลยเขาจะคิดถึงคนส่วนใหญ่(ประชาชน) ไม่มีอย่างแน่นอน เพราะอำนาจเหล่านั้นมาจากเผด็จการแทบทั้งสิ้น
และอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อเดือน ธค.2543 องค์การสหประชาชาติได้ยกย่อยว่า วันวิสาขะบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก (ซึ่งไม่มีวันทางศาสนาใดในโลกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ) และปี พ.ศ.2550 นี้ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระมหาบพิต พระราชสมภารเจ้า ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ซึ่งเป็นปีมหามงคล (ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุเท่ากับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นนับพุทธศักราช เป็นปีเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา) ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นทรงเป็นองค์เอกสัพพญู เป็นมหาบุรุษของโลก เป็นศาสดาของสามโลก ปีนี้มาประจวบเหมาะเป็นปีที่พ้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวมีพระชนมายุครบ80 พระองค์ทรงมีพระชนชีพอยู่ และพระองค์ก็ทรงทำความดีมาตลอด จนคนไทยทั้งมวลยกย่อง ชาวโลกทั้งหลายยกย่อง สรรเสริญพระองค์เป็นเหมือนกษัตริย์ในหมู่กษัตริย์ ถ้าจะให้เกิดมงคลอันสูงสุดแล้ว เราจะสรรเสริญทั้งสองประการจะได้หรือไม่? ว่าปีนี้เป็นปีมหามงคลขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราคนไทยทั้งมวลก็น้อมถวายให้ร่วมจารึกชื่อให้ในหลวงเอาไว้ว่าเป็นพระอริยจักพรรดิ์ และสถาปนาแผ่นดินไทยเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
ประเด็นที่ห้า นักการเมืองในยุคนี้เป็นลักษณะเกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หลวงตามีความคิดเห็นอย่างไรครับ
นักการเมืองเข้ามาเป็นนักการเมืองเพื่อแสวงหาอำนาจ อ้างว่าจะมารับใช้ประชาชน แต่ไม่ใช่เลย ที่แท้ก็เป็น วัวลากเกวียน คือฉันจะจูงประเทศไปทางนั้น ทางนี้ ก็ลากไป โดยที่ไม่ได้ถามประชาชนว่าเขาคิดอย่างไร ในกรณีย์ที่ทักษิณประสบความสำเร็จก็เพราะว่าได้ใช้คนไปถามข้างล่างแล้วมาร่างเป็นนโยบายจนสำเร็จท่วมท้น การที่ นายทักษิณ ชินวัตร ไม่สามารถอยู่ได้ก็เพราะว่า เขาไม่รู้จักชุมชน(ปริสัญญุตา) คือจะเขาชนะคนอื่นเขาไปหมด อย่างนี้ก็อยู่ไม่ได้ การปฏิวัติจึงเกิดขึ้นมาเพื่อขับไล่ทักษิณโดยตรง เป็นการ discredit เท่านั้น เหมือนกับที่พระกระทำผิด โยมเห็นโยมอย่าไปด่าเพราะว่าท่านรู้แค่นั้น บวชเข้ามาแล้วท่านไม่ได้บวชเรียนอย่างจริงจัง ครูบาอาจารย์ก็มไม่ได้สอน ดีไม่ดี ครูบาอาจารย์ก็จะหนักกว่าลูกศิษย์เสียอีก เพราะฉะนั้นการที่ท่านละเมิดศีล พระวินัย
ประเด็นที่หก ปัญหาทุกวันนี้ โดยเฉพาะเรื่องศีลธรรมมันนับวันยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นหลวงตามีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไรครับ?
หลวงตา:ทั้งภาครัฐ พ่อแม่ และทั้งประเทศไม่ได้ใส่ใจ คือศาสนาพุทธในเรื่องคุณธรรมศีลธรรม มันมี คนที่ไม่เรียนก็มี คนที่เรียนและไม่รู้ก็มี คนที่รู้แล้วไม่ทำก็มี คนที่ทำแต่ทำไม่ถูกก็มี คนที่ไม่เรียนแน่นอนย่อมไม่รู้ คนที่เรียนแล้วยังไม่รู้ก็มีคือเรียนไปแล้วถึงแม้จบปริญญาแต่ก็ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ คนที่รู้แล้วแต่ไม่ทำ คนที่ทำยังไม่ถูกเสียอีก นั่นมันมีนิยามที่ลึกเข้าไป ๆ ของคนไทยนั้นยังอยู่แค่ปากตรอกแค่นั้นเอง สรุปง่ายก็คือ ศึกษา เมื่อรู้ก็เอาไปสอนเท่านั้นแต่ไม่ได้ทำให้ถูกต้อง

ประเด็นที่เจ็ด หลวงตาคิดว่าสมควรหรือไม่ที่พระพุทธศาสนาจะเป็นศาสนาประจำชาติ?

หลวงตา: สมควรอย่างมาก เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้น มีมาในแผ่นดินนี้นานแล้ว ในประเทศไทยนี้ เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ว่า เมื่อก่อนที่ท่าน (พระมหากษัตริย์) ไม่ได้บัญญัติเอาไว้ก็เพราะว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด คำสั่งคำอำนาจ และปัจจุบัน ไม่ใช่ใครก็ไม่รู้ถูกเลือกเข้ามา มาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เขาเข้ามาแล้วคุณธรรมเขาไม่มีพอ ความเกรงใจทางมวลชลก็ยังไม่มี พอเข้าไปเป็นรัฐมนตรีก็สั่งย้ายพระพุทธรูปออกจากกระทรวงเสียแล้ว นี่ถ้าหากไปเป็นนายกรัฐมนตรีเสียแล้ว เขาจะออกกฎได้ไหม? อย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กรุงแตก ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เวลาจะยิงปืนต้านพม่า1ลูก ก็ต้องไปขออนุญาติ ครั้งละ1นัด และยิงได้แค่1ลูก แต่ในขณะที่พม่าสามารถยิงได้ไม่จำกัด จึงทำให้เสียกรุง เพราะฉะนั้นความเป็นผู้นำของชาวพุทธที่ได้เข้าไปเป็นใหญ่นั้นไม่มี มีคุณธรรมแต่ไม่ได้นำไปแสดงแก่สาธารณะชน มีแค่เพียงลมปากที่พูด เบื้องต้น ท่ามกลาง อ้างอิง ลงท้าย คล้ายกับspeechเป็นสากลเท่านั้นเอง พูดถือว่าสุดยอด อ้างตัวอย่าง อ้างพุทธทาส หลวงตามั่น อะไรที่ดัง ๆ เด่น ๆ เอามาหมด แต่คนเหล่านี้ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามคำที่พูด และบุคคลเหล่านี้เองจึงได้หันมาคัดค้านการจารึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะเขาสำคัญว่าตัวเขารู้แล้ว เขาเอาตัวเขาไปควบคุมสังคม แต่เขาไม่ได้เอาสังคมมาควบคุมเขา เหมือนพระปัจจุบันนี้ก็เหมือนกัน เขาเอาตัวเขาว่าเป็นผู้รู้ อ้างครูบาอาจารย์ เอาพระพุทธเจ้าเป็นบารมี เขาไม่ได้บำเพ็ญตนเพื่อให้เกิดบารมีเพื่อเผยแผ่ธรรม ดังนั้นเขาจึงเอาหลักสากลมาปนกัพระพุทธศาสนา และแน่นอนว่าสมควรที่จะบัญญัติ เพราะว่าคนทั้งโลกเขามองมาที่ประเทศไทย ว่าเราเป็นประเทศที่มีความร่มเย็นที่สุด แต่ในความร่มเย็นเรากลับเลี้ยงงูเห่า(ศาสนาอื่น) เอาไว้(แว้งกัดเราเอง)

-หลวงตามีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาสามชายแดนจังหวัดภาคใต้อย่างไร?
หลวงตา: การที่ปัญหา3ชายแดนภาคใต้นั้นที่มันยังไม่จบก็เพราะว่า เขามีเจตนาที่จะไม่แก้ต่างหาก นั่นก็คือ ในกลยุทธที่ว่า ได้ก็เอา ไม่ได้ก็ต่อสู้ต่อไป ลักษณะนี้เป็นต้น การรบกันที่เราเห็นนั้นเป็นการแสดงหน้าฉากมีผู้แสดงทั้งสองฝ่าย แต่พอหลังฉากก็มีเจ้าภาพเลี้ยงข้าวต้มเป็นต้น ผลเสียก็คือประเทศไทย
ประเด็นที่แปด เมื่อเราเรียกร้องรัฐนูญในครั้งนี้แล้วไม่สำเร็จหลวงตาคิดว่าจะทำอย่างไรครับ?
หลวงตา: ก็ต้องเรียกร้องไปเรื่อย ๆ มีโอกาสเมื่อไหร่ก็ทำ ต่อไปเราก็จะต้องประกาศคนที่ขัดขวางให้หมด ประกาศให้เห็นจารึกเอาไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์ ทำเป็นแบบพงศาวดารไปเลย เพราะไม่แน่ อีกร้อยปี สองร้อยปี ลูกหลานมาดูจะสำนึกกันบ้างไหม? เราตายแล้ว แต่ต้องจารึกเอาไว้ ฉันก็จะเขียนแนวของฉัน ระบุชื่อได้ต้องระบุ(ว่าใครคัดค้าน) ให้มันชัดเจน ถ้าไม่แน่ใจก็บรรยายอุปมาอุปมัยเอา ไอ้พวกดอกเตอร์ทั้งหลาย คนที่คัดค้านศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ คนพวกนี้
หนึ่ง เวลาเจอพระจะไม่กราบสามหน จะยกมือไหว้แบบบุคคล คือนับถือแค่บุคคล เช่น สวัสดีครับ นมัสการครับ
สอง มีลูกมีหลานจะไม่สอนให้สวดมนต์ ไม่สอนให้ไหว้พระ
ถ้าหากเขากราบพระสามหน เขาก็ต้องมีบารมีสามารถสอนลูกหลานให้กราบไหว้พระ พวกนี้ก็ต้องหวงแหนศาสนาอย่างแน่นอน เพราะเป็นแบบแผนที่ดีให้ลูกให้หลานเขาสืบทอด แต่พวกที่ไม่กราบสามคน เพราะพวกเขาไม่ได้คำนึงอยู่ในความรู้สึก ที่เขาบอกว่าเป็นคนนับถือศาสนาพุทธเพื่อเขาจะได้รักษาฐานะ ประเพณีสายเลือดพ่อแม่เขาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นคนที่อ้างว่านับถือพุทธก็เพียงแค่ให้มีสิทธิ เหมือนกับว่าอ้างตัวเป็นคนไทยเท่านั้นเอง เพื่อได้ถือบัตรประชาชน เพื่อได้ทำงาน เพื่อได้ครองแผ่นดิน เพื่อให้ได้สมบัติ แต่ไม่ได้ทำตัวเป็นคนไทยเลย ทำตัวเป็นฝรั่ง มันต่างกันตรงนี้ จะยึดถือศาสนาก็ไม่เอา ไม่เอาอะไรสักอย่าง
ประเด็นที่เก้า มีคนโต้แย้งว่าถ้าการบัญญัติทำให้ศาสนาอื่นเป็นประชาชนชั้นสอง
หลวงตา: แล้วสหประชาชาติยังยอมรับเลย ทั้งที่คนทั่วโลกยอมรับวันวิสาขะเลย ทั้งที่ ทั้งโลกส่วนใหญ่เป็นคริสต์ อิสลามเท่าไหร่เขายังยอมรับ เพราะเขามองเห็นถึงส่วนรวม ไม่ได้ทัศนะของตนเองเป็นเครื่องตัดสิน ที่เราจะจารึกนี้ เพราะพระพุทธศาสนามีแนวคำสอน มีแนวปฏิบัติ ที่ทำได้จริง เห็นได้จริง พิสูจน์ได้ มันจึงเป็นหลักเกณฑ์ที่เราจะจารึกไว้ให้ลูกหลานได้ดำเนินรอยตาม...แล้วทำไมประเทศไทยต้องจารึกว่าเป็นประชาธิปไตยละ ทุกวันนี้มันเป็นหรือยัง อย่างการจารึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมีคนถามว่าจารึกแล้วชาวพุทธทั้งหลายจะทำตัวดีขึ้นไหม? ดีไม่ดีมันเรื่องของการฝึกฝนอบรม มันไม่ใช่หน้าที่ แล้วอย่างประชาธิปไตยจารึกไปแล้วมันดีไหมละ 70 80 ปี มันดีไหม? เขาพูดว่าทำไม(พระ)ไม่ปล่อยวาง มันคนละเรื่อง แล้วท่านละทำไมถึงไม่ปล่อยวาง กี่สมัย ๆ ก็มาร่างรัฐนูญกันอยู่ แล้วทำไมถึงเอาความคิดของคุณเข้าไป อย่างนี้เขาเรียกว่า ความคิดของโคลากเกวียน ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ส่วนร่วมคิดจะลากเกวียนไปเท่านั้น...เหมือนกับนักการเมืองที่เวลาที่ประชาชนเขาเลือกเข้ามาเป็นผู้ชนะ บอกว่าเป็นเสียงสวรรค์ แต่พอแพ้บอกว่าฝ่ายตรงข้ามเขาโกง นักการเมืองบางคนถูกเลือกมาเป็นเวลาสิบยี่สิบปี ถามว่าเลือกมาทำไม เพราะเขาซื่อสัตย์ ถ้าเช่นนั้นเราไม่เลือกหมาเข้ามาละ หมานี้ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ๆ มันเป็นที่สุด
อย่างนักสิทธิมนุษย์ชนเรียกร้องให้ศาสนาอื่น จะเป็นจะตายเพียงแค่คนเดียวเรียกร้องแทบเป็นแทบตาย แต่พระถูกฆ่า ชาวพุทธถูกฆ่าจนต้องทิ้งบ้านเรือนแต่นักสิทธิมนุษย์ชนไม่พูดถึง แล้วอย่างนี้จะอยู่ได้อย่างไร? ในประเทศนี้เมืองนี้
ฉันเคยจะประกาศให้ญาติโยมที่เคยมากราบเต็มห้องว่า
“ถ้าจะเปลี่ยนแปลง... ก็ขอให้หลังเราตายไปแล้ว... แผ่นดินไทยนี้จะเปลี่ยนศาสนาก็ขอให้พวกเราตายไปแล้ว แต่ถ้าเรายังยืนอยู่ ลืมตา มีชีวิตอยู่ ไม่ยอม !”







บทความพิเศษจากหลวงตาเทพสัมมา
เรียบเรียงโดย พระธัญณัฏฐ์ชัย ชยฺยธมฺโม

พระพุทธเจ้า มีพระชนมายุ 80 พรรรษา แล้วทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงเป็นพระสัพพัญญูศาสดาเอกของโลก...
ประเทศไทยนั้นองค์การสหประชาติ และทั้งโลกต่างยกย่องให้พระพุทธศาสนา มีองค์คุณที่สามารถจะสอนแก่ชาวโลกได้ อันควรค่าแห่งการสร้างสันติภาพสู่มวลมนุษย์ จึงได้ประกาศออกมาว่า วันวิสาขะบูชา เป็นวันสันติภาพโดยแท้แห่งโลก
จะเห็นได้ว่า ศาสนิกในศาสนาอื่นต่างก็สนับสนุน มิได้มีปัญหาอื่นใดเลย แต่ทำไมศาสนาอื่นเหล่านั้นทั้งหลายจึงมิได้คัดค้านหรือสร้างความอคติแต่ประการใด
ปีนี้มหาบพิตรในหลวงของปวงชนชาวไทย ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรรษา ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานเกินกว่า 60 พรรษา ซึ่งถือว่ายายนานที่สุดในโลก ทั่วทั้งโลกต่างยกย่อง ทั้งในหมู่กษัตริย์และผู้นำทั้งผองทั่วสากล
พวกเราปวงชนชาวไทย หารักในหลวงแล้วไซร้ มีความเป็นห่วงชาติไทย ฝักใฝ่คุณธรรม ต้องนำพระพุทธศาสนาจารึกไว้ในรัฐธรรมนูญ
เหตุผลที่ควรกำหนดพระพุทธศาสนาจารึกเอาไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือ
1.เพื่อรองรับตามกฎหมาย เพื่อที่จะกำหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกโดยสมบุรณ์
2.การที่มีบุคคลที่กล่าวอ้างว่า นับแต่มีรัฐธรรมนูญมา ไม่เคยมีฉบับไหนจารึกเอาไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น คำชี้แจงมีดังนี้
แต่ก่อนชาติสยาม มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข มีอำนาจปกครอง ทุกอย่างพระองค์เป็นผู้ออกกฎโดยพระองค์เอง เมื่อพระองค์สืบราชสันติวงศ์มา ก็ทรงนับถือพระพุทธศาสนาโดยตลอดทุก ๆ ราชวงศ์มา จึงไม่จำเป็นต้องระบุศาสนาประจำชาติ ดังที่เป็นมา
แต่ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงมีการเขียนรัฐธรรมนูญการปกครอง โดยกำหนดให้บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ปกครอง และสามารถออกกฎหมายต่าง ๆ ได้ ซึ่งหมายถึงว่า ผู้นำในรับธรรมนูญ มิได้เป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพุทธมามกะ
แล้วถ้าหากวันหนึ่ง บุคคลใดก็ไม่รู้ ขึ้นมาเป็นนายก และออกกฎหมายระบุให้ศาสนาอื่นมีอำนาจมากกว่าพระพุทธศาสนาเสียแล้ว
พระเจ้าอยู่หัวเป็นพุทธมามกะ และประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิก ก็อาจจะตกอยู่ใต้การปกครองของศาสนิกของศาสนาอื่น ย่อมส่งผลกระทบก่อให้เกิดความขัดแย้ง และความรุนแรงตามมาก็เป็นได้ เหมือนดังนานาประเทศในปัจจุบันที่มีความขัดแย้งกันระหว่างศาสนา จนก่อให้เกิดกลายเป้นสงครามทางศาสนา ระหว่าง ฮินดูกับคริสต์ หรือคริสต์กับอิสลาม
แม้แต่ประเทศไทยใน3ชายแดนจังหวัดภาคใต้ก็ตามซึ่งมีชุมชนชาวมุสลิม มากกว่าชาวพุทธ ถึง 5:1 เท่า ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขมาตั้งแต่ในอดีต แต่มิวายเกิดลัทธินอกศาสนา มีชาวมุสลิมนอกคอกบางคน ทำร้าย ทำลาย ฆ่า และขับไล่ชาวพุทธและมุสลิม เพื่อทำการเรียกร้องขอปกครองตนเอง จะเห็นได้ว่าคนบาง
คนในศาสนาหนึ่ง หรือบางรัฐบาล มีรัฐมนตรีศาสนาอื่น เมื่อเข้ามาทำงานในกระทรวงยังทำท่ารังเกียจ การย้ายพระพุทธรูปออกจากกระทรวงจะเห็นได้ว่า ความใจแคบ อ้างว่าเป็นบาป ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่ในประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยตั้งข้อรังเกียจโดยเอาศาสนามาเป็นตัวแบ่ง แบ่งสิทธิ จำกัดดินแดนเลยแม้แต่น้อย
นี้เองชาวพุทธ เราจำเป็นต้องตื่นตัวเพื่อตื่นขึ้นมาเห็นความอ่อนแอของเราที่มีอยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่ว่าด้วยกฎหมาย เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกร้อง ให้มีการกำหนดสิทธิอันชอบธรรมของพวกเรา นั่นคือ การสถานปนาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพื่อที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมของพระพุทธศาสนาโลก อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทะมามกะ ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
การที่มิได้กำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นนั้น ก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับร่างออกมาย ด้วยอำนาจเผด็จการของการปฏิวัติรัฐประหาร แทบทั้งสิ้น จึงมิใช่รัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คนส่วนใหญ่ก้มิได้ที่จะใช้สิทธิ์ ออกเสียง เพื่อกำหนดหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับของปวงชนชาวไทย
หากวันใด ใครเข้ามา มีอำนาจ
มันบังอาจ บังคับชาติ เปลี่ยนศาสนา
เยี่ยงอินเดีย อินโดนีเซีย เคยมีมา
ใครจะกล้า รับรองไทย ไม่ล้มครืน

นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร์เป็นต้นมา การยึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหารก็เกิดขึ้นเหมือนเงาตามตัว รัฐธรรมนูญจึงเป็นเพียงข้ออ้างของนักปฏิวัติแทบทั้งสิ้น ดังนั้น ใครจะมาอ้างว่าพระพุทธศาสนามิได้เคยบํญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาก่อนไม่ได้!เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นข้ออ้างของนักปฏิวัติซึ่งมิใช่ตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง
เราชาวพุทธทั้งหลาย ถึงเราจะมีจำนวนมากถึง95% ก็ไม่ควรที่จะนิ่งเฉย ปล่อยให้นักวิชาการเผด็จการบางคนหรือคนนอกศาสนาที่แอบอ้างเอาศาสนาของตนมาเรียกร้องแล้วเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ รอยร้าวของคนไทยที่เกิดขึ้น ณ 3 ชายแดนภาคใต้ เพราะคนนอกศาสนาบางกลุ่ม เราไม่เคยได้ยินผู้นำของศาสนาเขาเลยที่จะออกมาประกาศขอโทษคนไทย หรือผู้บริสุทธิ์ มิหนำซ้ำก็ยังใช้มวลชนหน้าตัวเมียออกมาขับไล่คนของรัฐให้ออกไปจากพื้นที่เสียอีก
นักวิชาการที่ออกมาเรียกร้องในเรื่องสมานฉันท์นั้นก็อีกกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามเรียกร้องความยุติธรรมให้เฉพาะแค่ศาสนาอื่น ที่สร้างความอยุติธรรมให้แก่ชาวพุทธ โดยมิได้สนใจเลยว่าพวกศาสนานั้นจะทำอะไรกับชาวพุทธบ้าง มันป่าเถื่อน โหดร้าย รุนแรงเหลือเกิน!
จึงควรสำนึกถึงในพระราชเสาวนีย์ขององค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์เคยทรงปรารภไว้ว่า “ยอมให้ฆ่ารายวันอย่างนี้ ยอมกันไม่ได้แล้ว ต้องปลุกให้คนไทยลุกขึ้น สู้...อย่ากลัว...”


ท่านก็เป็น คนไทย มิใช่หรือ ใยยึดถือ อ้างศาสน์ มาแยกฝ่าย
ไม่ได้รับ ความเป็นธรรม ช้ำใจกาย ใยโหดร้าย ฆ่าคนดี นี่หรือ...ยุติธรรม

ท่านต้องการ ความยุติธรรม พร่ำเรียกร้อง ด้วยการฆ่า เพื่อนพี่น้อง ดูขำขัน
เขาตกเป็น เหยื่อบริสุทธิ์ ตาดำดำ อยุติธรรม ฤาแลกได้ ยุติธรรม

ถ้าทั้งโลก คิดอย่างท่าน หว่านความคิด เอาชีวิต แลกชีวิต หลงถลำ
ไม่นับญาติ ชาติแผ่นดิน สิ้นคุณธรรม นั่นเวรกรรม เวียนถึงท่าน จะปานใด

หากทุกคน ลงมติ สู้สิวะ! ชั่วกักขฬะ สู้กักขฬะ จะแค่ไหน
เพื่อนฆ่าเพื่อน ตัดพี่น้อง เลือดนองไทย ศาสน์ใดใด จะเหลืออยู่ กู้แผ่นดิน
*****

บ้านเมืองจะเรืองรุ่ง ต้องผดุงศาสนา
ศีลธรรมนั้นนำพา ปวงประชาสุขเจริญ
ถิ่นใดไม่เสริม...ศาสน์ ศีลพินาศ...ธรรมห่างเหิน
ถิ่นนั้น..ย่อมยับเยิน ความเจริญ บ่..ห่อนมี




[1] ตาม456 วรรค1 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่าแป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือกำปั่น มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป....”
[2] ป.อาญา มาตรา 64 “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้....”
[3] ปฐมพงศ์ ทินบรรเจิดฤทธิ์ เอกสารประกอบการสอน วิชา การเมืองการปกครองของไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[4] E.C.banfield in Gould, Julius and W.L.Kolb, Dictionary of the Social Sciences, Free Press of Glencoe, 1964 pp.515-516
[5] สุขุม นวลสกุล การเมืองการปกครองไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[6] S.S.Wolin, politics and Vision, Little, Brown 1960p.p.10-11
[7] พระมหา ดร.โชว์ ทส.สนีโย เอกสารประกอบการสอนวิชารัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสนา
[8] สุรี-วิเชียร มีผลกิจ พระพุทธประวัติ หน้า96-97
[9] เอกสารประกอบการสอนวิชา ปรัชญาการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน้า 224.225
[10] หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5957

[11] หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 พ.ย. 2548
[12] ใต้หวันมิใช่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะยังมิได้มี อำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง คือยังมิได้มีรัฐเป็นของตนยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีนอยู่ เมื่อใต้หวันยังมิได้มีสภาพเป็นประเทศที่สมบูรณ์ ดังนั้นจะกล่าวว่าใต้หวันปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ไม่ได้
[13] คำว่าเจริญขึ้นหรือเสื่อมไม่สามารถวัดกันได้ วัดได้เฉพาะแค่ปริมาณเท่านั้น แต่คุณภาพไม่สามารถวัดได้ จะกล่าวได้อย่างไรว่าใต้หวันเจริญขึ้น
[14] ไม่ม่ศาสนาใดในโลกที่ปราศจากอำนาจรัฐคุ้มครองแล้วอยู่ได้ตามลำพัง ในประวัติศาสตร์เราจะเห็นได้ว่า อย่างเช่นศาสนาคริสต์พยายามเข้าไปมีอำนาจการเมือง เพื่อใช้การเมืองเผยแผ่ แต่สำหรับพระพุทธศาสนานั้นไม่เคยเข้าไปยุ่งในเรื่องการเมืองแต่ก็ต้องใช้อำนาจการเมืองเพื่อที่จะดำรงศาสนาเอาไว้
[15] ประเด็นนี้พระมโนกล่าวเอาไว้ค่อนข้างสับสนขัดแย้งกับคำพูดเดิมตัวเองอยู่มาก เพราะจุดมุ่งหมายของการบวชที่มิให้ราชการมาบวชนั้นเพราะว่า มีข้าราชการหนึมาบวชทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน มีผลกระทบต่อสังคม แต่การที่เจ้าอาวาสเป็นข้าพราชการนั้น มิใช่เป็นข้าพราชการจริงแต่เป็นไปเพืออนุโลมตามบ้านเมืองที่เขาจัดให้เป็นอย่างนี้ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น ๆ ในคำกล่าวอ้างของพระมโนที่ว่า เจ้าอาวาสเป็นข้าราชการโดยกฎหมาย ทำให้ คนที่จะเข้ามาบวชในครั้งแรกบวชไม่ได้ ฟังดูขัดแย้งกันเป็นอย่างมาก เพราะว่ากุลบุตรที่เข้ามาบวชในครั้งแรกนั้น ไม่ใช่เจ้าอาวาส เป็นคนธรรมดาไม่ใช่พระจึงไม่ใช่เจ้าอาวาส ถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมคงจะวุ่นวาย เพราะคนธรรมดาก็เป็นเจ้าอาวาสได้จึงเป็นราชการแล้วมาบวช ซึ่งประเด็นนี้ดูเหมือนพระมโนจะเสนอค่อนข้างที่จะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปค่อนข้างมาก
[16] การกล่าวลักษณะเช่นนั้นไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะว่า พระก็มาจากลูกชาวบ้าน ข้าราชการก็มาจากลูกชาวบ้าน นายกรัฐมนตรีก็มาจากลูกชาวบ้านเหมือนกัน การที่กล่าวว่า ข้าพราชการกี่คนที่จะตักบาตรทำบุญ การกล่าวเช่นนี้จึงเป็นไปในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะในความเป็นจริงแล้วมันแยกออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด
[17] ปัจจุบันอเมริกามีชาวคริสต์อยู่ราว 85% เป็นโปรแตสแตน 60% และคาทอลิก20 กว่าเปอร์เซ้น ที่เหลือเป็นศาสนาอื่น ๆ